กสอ.เล็งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.8 หมื่นล.ปี 63

17 ก.ย. 2562 | 09:05 น.

กสอ.ยึดนโยบายเดิมเดินหน้าช่วยไมโครเอสเอ็มอีและเกษตรกรภายใต้งบ 1.3 พันล้านบาทปี 63 เล็งพัฒนาผู้ประกอบการ 60,000 ราย ตั้งเป้าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท  เผยมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว   

กสอ.เล็งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.8 หมื่นล.ปี 63           

นายกอบชัย  สังสิทธิสวัสดิ์  อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า นโยบายในการขับเคลื่อนเอสเอ็มอี (SMEs) ในปี 2563 จะยังคงใช้นโยบายตลาดนำการผลิต  ตลาดนำการส่งเสริม  และนวัตกรรมนำการส่งเสริม  (Local to Global by Marketing and Innovation) โดยเฉพาะรัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจ  เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน  ซี่งจะเป็นการเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี  และกลุ่มเกษตรกรทั้งเรื่องการสร้างตลาด  การสร้างแบรนด์  และการสนับสนุนทางด้านเงินทุน  เป็นต้น

ทั้งนี้  จะมีวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.3 พันล้านบาทเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย  โดยจะพยายามพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้มากกว่า 60,000 ราย  และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้ประมาณ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท  ซึ่งจะมีการนำการเรียนการสอนทางอินเตอร์เน็ต (e learning) เข้ามาช่วยเสริมด้วย  โดยที่ผ่านมาได้มีการปะชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้วหลายรอบทั้ง  กองทุนหมู่บ้าน ,ธนาคารเพื่อการเกษตร  และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank

“เรานำกลุ่มเป้าหมายของ ธ.ก.ส. ,ธพว.  และกองทุนหมู่บ้านมาพัฒนา  โดยพยายามไม่ให้ขายผลิตภัณฑ์ในรูปของวัตถุดิบ แต่ต้องการให้ขายในลักษณะของผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยกลุ่มลูกค้าของ ธ.กส. มีอยู่แล้วประมาณ 10,000 ราย  ,กลุ่มของกองทุนหมู่บ้านประมาณ 13 ล้านราย  ซึ่งเราจะต้องกลั่นกรองผู้ที่มีใจที่ต้องการจะสู้  เพราะหัวใจของการแปรรูปจะต้องมีต้นแบบ  และต้องอดทนมากกว่าจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้  โดยสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมเชิงปฏิการ  ให้กงต่างๆมานำเสนอโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก”

นายกอบชัย กล่าวต่อไปอีกว่า ในปีงบประมาณ 62 กสอ. ได้ดำเนินงานภายใต้นโยบายการตลาดและนวัตกรรมนำการส่งเสริมด้วยงบประมาณรวมทั้งสิ้นกว่า 1,280 ล้านบาท โดยมีภารกิจหลักในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน พร้อมเชื่อมโยงสู่ตลาดสากลผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ สถานประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนกว่า 60,000 ราย พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้กว่า 3,000 ผลิตภัณฑ์ สร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย 35 กลุ่ม คิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจ 15,000 ล้านบาท ซึ่งเกินเป้าที่ตั้งไว้ในช่วงแรก 13,000 ล้านบาท

กสอ.เล็งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.8 หมื่นล.ปี 63

                จากนโยบายการตลาดนำการส่งเสริม กสอ. ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาทั้งด้านบุคลากรและการสร้างแพลทฟอร์มต่าง เช่น การผลักดันสู่ช่องทางการค้าออนไลน์ การส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างแบรนด์ธุรกิจ การสนับสนุนการใช้บิ๊กดาต้า เป็นฐานข้อมูลการจับคู่ธุรกิจบน T-GoodTech โดยมีผู้เข้ารับ การอบรมกว่า 4,000 ราย เกิดการต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 500 ล้านบาท 

                สำหรับนโยบายนวัตกรรมนาการส่งเสริม กสอ. ได้ส่งเสริมการนาผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมใหม่ มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ที่เกิดจากการบูรณาการกับสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ในการดำเนินกิจกรรม ‘Research Connect’ หรือ ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมระหว่างผู้พัฒนาและผู้ประกอบการ พร้อมต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์  โดยมีการนำผลงงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 65 ผลงาน ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรและอาหารแปรรูป กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มการแพทย์-สุขภาพ และกลุ่มซอฟต์แวร์ และดิจิทัล มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการต่อยอดจับคู่ธุรกิจ จำนวน 15 ราย คาดเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 77 ล้านบาท

นอกจากนี้ กสอ. ยังขยายผลการดาเนินงาน ด้านการพัฒนำนวัตกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center: ITC 4.0) ควบคู่กับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center: Thai-IDC) ล่าสุด มีผู้เข้ารับบริการแล้ว จานวนกว่า 18,000 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 3,500 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน กสอ. ยังมีการขยายความร่วมมือด้านต่างประเทศ ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม กับต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในส่วนความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น นั้น กสอ. มีความร่วมมือมายาวนานกว่า 10 ปี ซี่งมีความร่วมมือกับรัฐบาลกลาง 5 แห่ง รัฐบาลท้องถิ่น 22 แห่ง และภาคเอกชน 3 แห่ง ภายใต้การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กว่า 30 ฉบับ  โดยในปีนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเพิ่มเติมกับ จังหวัดมิยางิ จังหวัดโคจิ และรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดวากายามะ ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้ง ลงนามความร่วมมือต่อเนื่องกับ บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น จากัด เพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ไปสู่ Industry 4.0

กสอ.เล็งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.8 หมื่นล.ปี 63

                “กสอ. ยังได้จัดงานครบรอบ 10 ปี โต๊ะญี่ปุ่น Japan Desk แสดงถึงความสาเร็จของความร่วมมือระหว่าง กสอ. กับประเทศญี่ปุ่น ครบ 10 ปี ซึ่งในงานดังกล่าวมีกิจกรรม Business Matching ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดและส่งเสริมการลงทุน สามารถจับคู่ทางธุรกิจกว่า 80 ราย จากผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมทั้งหมดกว่า 130 ราย และคาดว่าจะเกิดยอดขายมูลค่าสินค้าภายใน 1 ปี กว่า 370 ล้านบาท”

                นายกอบชัย กล่าวอีกว่า กสอ. ยังได้เร่งขับเคลื่อนภารกิจที่สาคัญ เพื่อรองรับนโยบายในการสร้างและพัฒนา Start up ภายใต้การดาเนินโครงการ Thailand Cyberport โดยจัดตั้งบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จากัด ขึ้น และได้มีการลงนามความร่วมมือด้านการลงทุนร่วมกับพันธมิตรด้านการลงทุน 13 หน่วยงาน เป็นเงินกว่า 515 ล้านบาท ด้วยความมุ่งหวังที่จะยกระดับสตาร์ทอัพไทย ให้ถึงระดับ Unicorn (ผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป) แจ้งเกิดธุรกิจที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม บนพื้นฐานของนวัตกรรมในอนาคต โดยตั้งเป้ามีสตาร์ทอัพเริ่มต้นจานวน 40 ราย ทั้งนี้ กสอ. ยังเตรียมจัดงาน “Thailand Cyberport Demo Day 2019” เพื่อสรรหา เชื่อมโยง และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่สตาร์ทอัพและนักลงทุนทั้งไทยและฮ่องกง ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้น ภายในสิ้นปี 2562 นี้ โดยดาเนินการร่วมกับ HK Cyberport, HKTDC และ HPA