ธปท.เผยเงินเฟ้อยังติดลบ 0.77% คาดอีก 2 เดือนกลับเป็นบวก

29 มี.ค. 2567 | 14:06 น.

ธปท.เผยส่งออก ก.พ. 67 ยังไม่ขยับ เงินเฟ้อยังติดลบ 0.77% คาดอีก 2 เดือน กลับเป็น แนะลูกหนี้ร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง เริ่ม 1 ม.ย.67

นางสาวชญาวดี  ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า  เศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2567 ขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ มูลค่าการส่งออกขยายตัว 2.5% หากตัดสินค้าทองคำมูลค่า 22.3 พันล้านดอลาร์สหรัฐ นับว่า ไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน  เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า แต่หลังจากนี้  การส่งออกเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น 

นางสาวชญาวดี  ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.77% ติดลบน้อยลงจากเดือนก่อนที่ติดลบ 1.11% จากหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ตามราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อยตามราคาอาหารในหมวดพื้นฐาน จากผลของฐานสูงในปีก่อน แต่มองว่า อัตราเงินเฟ้อดีขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าอีก 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มเป็นบวก

ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลตามดุล 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเดิมขาดดุล 200ดอลลาร์สหรัฐ  ขณะที่รายรับภาคการท่องเที่ยว  เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน  โดยเฉพาะ ชาวจีน  ได้รับผลดีจากมาตรการวีซ่าฟรีและเทศกาลตรุษจีน   มาเลเซีย จากการท่องเที่ยวก่อนการถือศีลอดในช่วงรอมฎอน  ปีนี้มาเร็วกว่าปกติ  ส่วนญี่ปุ่น หลังชะลอไปในช่วงก่อนหน้า  

ธปท.เผยเงินเฟ้อยังติดลบ 0.77% คาดอีก 2 เดือนกลับเป็นบวก

สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางยังหดตัวสูงตาม พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 ล่าช้า และรายจ่ายประจำหดตัวจากผลของฐานสูงในปีก่อน เพราะการเลื่อนเบิกจ่ายของหน่วยงาน โดยเฉพาะด้านการศึกษา  รวมถึงปีก่อนมีการเบิกจ่ายในมาตรการลดค่าไฟฟ้าและโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยว หลายมาตรการ

ส่วนกรณีที่รัฐบาลเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัลวอเล็ต 10,000 บาท  ธปท. ยังมีความเห็นเหมือนเดิม เพราะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มฟื้นตัวและมีรายได้ดีขึ้น  จึงควรช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ซึ่งควรได้รับการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม มองว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องรอติดการประชุมบอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่ในวันที่ 10 เม.ย.67 นี้จะสรุปแนวทางอย่างไร 

นางสาวอรมนต์  จันทพันธ์  ผู้อำนวยการ ฝ่ายคุ้มครองและตรวจสอบบริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า  แนะให้ลูกหนี้ ร่วมโครงการ แก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง โดยเน้นกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เป็นกลุ่มชำระหนี้ขั้นต่ำรายเดือน  และยังเป็นลูกหนี้ดี เป็นกลุ่มเลือกชำระดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น ต้องชำระให้เสร็จภายใน 5 ปี   หลังจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต  ปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้อมูลเครดิต  บังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 67 เป็นต้นไป 

นางสาวอรมนต์  จันทพันธ์  ผู้อำนวยการ ฝ่ายคุ้มครองและตรวจสอบบริการทางการเงิน ธปท.

ทั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มลูกหนี้ใหม่ 3 กลุ่ม คือ

  1. DR เป็นกลุ่มปรับโครงสร้างหนี้เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย
  2.  TDR กลุ่มปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
  3. PD กลุ่มลูกหนี้ทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข  โดยยังไม่เป็นหนี้ NPL 

มาตรการดังกล่าว  โดยไม่มีผลย้อนหลังในการปรับโครงหน้านี้ ทำสัญญาเอาไว้ก่อน 1 เม.ย. 67  ให้ลูกหนี้รีบติดต่อกับแบงก์  โดยเลือกนำบัตรที่มีปัญหาเข้าร่วมโครงการ 1-2 ใบ จะได้รับการลดดอกเบี้ยจาก 25% เหลือ 15   %  เมื่อชำระติดต่อกันภายใน 5 ปี เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย