ที่ผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจ จะมาพบปะกันแบบตัวเป็น ๆ ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย หลังว่างเว้นมา 2 ปี ได้แต่เจอกันผ่านจอออนไลน์ จากพิษโควิด-19
ครั้งนี้ยังเป็นจังหวะท้าทาย ว่าเอเปคอาจเป็นเวทีสมานรอยร้าว ลดความขัดแย้งโลกเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา จากภาวะโลกแตกร้าวยุคเปลี่ยนผ่านภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ที่ยังไม่ลงตัว ที่ฟาดหางความขัดแย้งไปทั่ว
และไม่เพียงเวทีผู้นำเอเปคที่จะเป็นบทสรุปการประชุมครั้งนี้ แต่ตลอดทั้งปี มีคณะของ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคในทุกระดับ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ จนถึงรัฐมนตรี รวม 14 คลัสเตอร์ มาจัดประชุมต่อเนื่องในไทยนับร้อยเวที
มีกระทรวงการต่างประเทศเป็นแม่งานหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่เป็นคนทำงานเบื้องหลัง
เชิดชาย ใช้ไววิทย์ เกิดเมื่อ 1 เมษายน 2512
จบปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ แล้วไปต่อต่างประเทศ ได้ Master of Arts, Faculty of Social Sciences, Keynes College จาก University of Kent at Canterbury
เป็นลูกหม้อกระทรวงการต่างประเทศ จนถึงปี 2552 เป็นที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา แคนาดา อยู่ 3 ปี กลับมาเป็นผอ.กองเอเชียตะวันออก 4 จนถึงปี 2560 ไปเป็นอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ปี 2562 กลับมาเป็นอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เตรียมงานเจ้าภาพการประชุมเอเปคมาแต่ต้นมือ
รวมทั้งยกร่าง “เป้าหมายกรุงเทพฯ” เพื่อเป็นแนวปฎิบัติของ 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ว่าด้วยภาคธุรกิจกับปัญหาโลกรวน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำกลับมาใช้ใหม่ และแก้ปัญหาขยะ เพื่อสร้าง “โลกยั่งยืน”
เชิดชาย ใช้ไววิทย์
อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 33,8331 วันที่ 30 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน พ.ศ.2565