วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวสุนทรพจน์เปิดในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 APEC 2022 THAILAND รูปแบบ Retreat ช่วงที่ 1 หัวข้อ “การเจริญเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”
พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า ผมและประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคแบบพบหน้ากันครั้งนี้ หลังจากที่เราไม่ได้เจอกันมานานถึง 4 ปี การประชุมของเราในสองวันต่อจากนี้ จะเป็นบทสรุปการหารือในช่วงสัปดาห์ผ่านมาเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูและนําพาภูมิภาคของเราไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น
สำหรับการหารือในวันนี้ อยากให้พวกเรามาพูดคุยกันว่าเอเปคควรจะทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
จนถึงปัจจุบันเรายังคงต้องต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถูกซ้ำเติมจากความท้าทายของสถานการณ์โลกที่สำคัญไปกว่านั้น เรายังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
แต่รวมถึงความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติทั้งหมด เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบและปกป้องโลกของเรา เราไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป พวกเราต้องปรับมุมมองและเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต และการทำธุรกิจ
นายกฯ ระบุว่า ประเทศไทยได้นําแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ มาเป็นยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟูจาก ผลกระทบของโควิด-19 และเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโตในระยะยาวที่เข้มแข็งสมดุลยั่งยืน และครอบคลุม
เศรษฐกิจ BCG ผสานแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเข้าด้วยกัน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ดังนี้
แนวทางเศรษฐกิจทั้งสามข้างต้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG แตกต่างออกไปคือ การตระหนักว่าความท้าทายหลากหลายที่เราประสบอยู่เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงและคาบเกี่ยวกัน
ดังนั้นการแก้ปัญหา ของเราจึงต้องไม่เป็นไปแบบแยกส่วน ด้วยเหตุผลนี้ เศรษฐกิจ BCG จึงให้ความสำคัญและผลักดันการใช้สามแนวทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างเป็นองค์รวมเพื่อผลลัพธ์ที่ทวีคูณและหลกีเลี่ยงผลลัพธ์ที่ได้อย่างเสียอย่าง
การสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทกุภาคส่วน ทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และฟื้นคืนความสมดลุ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ไทยเชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มีความเป็นสากล ดังนั้นในวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปค ปี 2565 ไทยจึงนําเสนอแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เข้าสู่การพูดคุยกันในกรอบเอเปค เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้าน ความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ และทำให้ความพยายามของเอเปคในการขับเคลื่อนภูมิภาคไปข้างหน้า ตอบสนองต่อความท้าทายเร่งด่วนในปัจจุบัน
นายกฯ ระบุด้วยว่า บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ไทยริเริ่มการจัดทำเป้าหมายกรุงเทพฯว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อเป็นผลลัพธ์ที่แห่งการจดจําสำหรับผู้นำเอเปคในปี 2565 เป้าหมายกรุงเทพฯ จะเป็นกรอบแนวทางผลักดันวาระด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของเอเปคอย่างชัดเจน พลิกโฉม สมดุล และทะเยอทะยาน
เอกสารดังกล่าวมุ่งขับเคลื่อนงานภายใต้ 4 เป้าหมาย ได้แก่
“ไทยขอบคุณเขตเศรษฐกิจที่ให้การสนับสนุนเป้าหมายกรุงเทพฯว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG จนบรรลุฉันทามติด้วยดี ผมคาดหวังว่าพวกเราจะร่วมรับรองเอกสารสำคัญดังกล่าวในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นมรดกสำคัญของเอเปค ปี 2565”
ทั้งนี้เพื่อต่อยอดจากเป้าหมายกรุงเทพฯ ผมขอเสนอให้เราหารือกันว่าแนวคิดเศรษฐกิจ BCG จะสามารถแปลงวิสัยทัศน์และทิศทางตามที่ระบุในวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 และแผนปฏิบัติการ อาโอทีอาโรอา (Aotearoa Plan of Action) ไปสู่การดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนสำหรับประชาชนและคนรุ่นหลังของเราได้อย่างไร
เอเปคต้องมองไปไกลกว่าการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปสู่การฟื้นสร้าง (regenerative) สภาพแวดล้อมให้มีความยืดหยุ่นและเอื้อต่อการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืนในฐานะกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจชั้นนําและแหล่งบ่มเพาะทางความคิด เอเปคมีทรัพยากรที่จะเร่งสร้างการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ที่มีผลเป็นรูปธรรมแก่ทุกคนในระยะยาว
เราจะร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร เพื่อจูงใจภาคธุรกิจให้หันมาดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และเราจะส่งเสริมให้ประชาชนของเราปรับมุมมองและเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น ผู้บริโภคและพลเมืองของโลกที่มีความรับผิดชอบได้อย่างไร
“ผมได้รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชนจากทุกท่านบทเรียนจากการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา ผมยินดีที่พวกเราเห็นพ้องกันว่า เราต้องใช้โอกาสการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 สร้างความเติบโตที่เข้มแข็ง สมดุลครอบคลุมและยั่งยืน”
นายกฯ ระบุในช่วงท้ายว่า เอเปคจำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นด้านความยั่งยืนให้อยู่ในทุกอณูของทุกกลไกการทำงานในเอเปค เป้าหมายกรุงเทพฯ ที่พวกเราจะร่วมกันรับรองในวันพรุ่งนี้จะเป็นเข็มทิศนําทางการดําเนินงานของเอเปคแบบ เป็นองค์รวมและมีทิศทางที่ชัดเจน