พูดถึงกองมรดกคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่ามีแต่ทรัพย์สินเงินทองเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกองมรดก ประกอบด้วย
ซึ่งหากบุคคลเสียชีวิต สามารถส่งต่อกองมรดกเหล่านี้ ได้ 2 แบบ คือ ทายาทโดยพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรม
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ "ทายาทโดยธรรม" โดยจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ (ไร้พินัยกรรม) หรือทำไว้แล้ว แต่พินัยกรรมนั้นไม่สามารถใช้บังคับได้ จะสามารถส่งต่อมรดกได้แบบเดียวคือ "ทายาทโดยธรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 สำหรับการแบ่งกองมรดกของทายาทโดยธรรมแบ่งตามลำดับชั้น ซึ่งประกอบด้วย 6 ลำดับ ดังต่อไปนี้
คู่สมรส จะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรม โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น และต้องดูว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกที่ส่งต่อให้ทายาทโดยธรรม ตามลำดับชั้น
แต่จะได้จำนวนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคู่สมรสได้รับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมลำดับชั้นไหน ดังนั้น (กรณีมีทั้ง ลำดับที่ 1 และ 2 ร่วมกัน คู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน) โดยการรับมรดกตามกฎหมายของคู่สมรสสามารถแบ่งได้ตามตารางด้านล่างนี้
อย่างไรก็ตาม การส่งต่อมรดกขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์หรือความต้องการของแต่คน ว่าต้องการส่งต่อให้ใครและจำนวนเท่าไหร่ ถ้าหากเห็นว่าการส่งต่อให้กับทายาทโดยธรรม ตามลำดับของกฎหมายสอดคล้องกับความต้องการของเราแล้ว ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องทำพินัยกรรม แต่ถ้าหากต้องการส่งต่อให้กับคนใดคนหนึ่งตามจำนวนที่ต้องการ การส่งต่อมรดกแบบทายาทโดยพินัยกรรมนั้นจะเหมาะสมกว่า
คลิกอ่านเพิ่ม : ภาษีมรดก อะไรต้องเสีย อะไรไม่ต้องเสีย
โดย : วรรณภรณ์ สินาเจริญ นักวางแผนการเงิน CFP®
ที่มา : สมาคมนักวางแผนการเงินไทย