ภาวะ ‘ซึมเศร้า’ กับการบำบัดด้วยธรรมชาติ

14 ส.ค. 2565 | 23:46 น.

Tricks for Life

ภาวะซึมเศร้า” มักจะถูกตีความและเข้าใจผิดว่า ภาวะซึมเศร้า เกิดขึ้นจากความรู้สึกสูญเสีย เสียใจ และผิดหวัง แท้จริงแล้ว ภาวะซึมเศร้า ก็โรคโรคหนึ่งที่ไม่มีใครอยากที่จะต้องเผชิญ เมื่ออารมณ์ได้รับผลกระทบจากการใช้ชีวิตประจำวันและจากสถานการณ์ต่างๆ “ภาวะซึมเศร้า” จึงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่ได้หมายความว่าอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ

              

นอกจากอาการทางจิตใจ ยังแสดงอาการของร่างกายทั้ง น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอนหลับยาก ขาดความยากอาหาร และสูญเสียความสนใจสิ่งรอบตัว อาการทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเริ่มเข้าข่ายกับความหมายของคำว่า “ภาวะซึมเศร้า” ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์และต้องเห็นความเปลื่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากเดิม

              

การสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ลงไป จะสามารถช่วยให้ลดอาการเหล่านี้ได้ อีกทั้ง หากรีบรักษาแต่เนิ่นๆ อย่างถูกวิธีจะช่วยให้หลาย ๆ คนที่ประสบปัญหากับภาวะซึมเศร้าสามารถกลับมารู้สึกดีได้เร็วขึ้น

 

ความแตกต่างกันระหว่าง “ภาวะซึมเศร้า” และ “โรคทางจิตเวช” คือ หากรักษาอาการภาวะซึมเศร้าอย่างถูกต้อง ผู้คนหลายคนที่มีอาการซึมเศร้าสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีอาการของโรคทางจิตเวช มีแนวโน้มที่จะมีอาการทางจิตหลงเหลืออยู่หลังการรักษาแล้วแต่สามารถควบคุมอาการตนเองได้

ภาวะ ‘ซึมเศร้า’ กับการบำบัดด้วยธรรมชาติ               

การรักษาภาวะซึมเศร้า สามารถรักษาได้ด้วยวิธีแบบธรรมชาติ เช่น การใช้จิตบำบัด โยคะ และการนั่งสมาธิ โดยการฝึกจิตใจและฝึกฝนสมาธิของร่างกายเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์และสามารถรับมือกับภาวะซึมเศร้าจากทั้งทางกายและใจได้

 

“โรเบิร์ต คอมมอน” หุ้นส่วนผู้จัดการ เดอะบีคีพเปอร์เฮ้าส์ประเทศไทย กล่าวว่า กุญแจหลักในการเข้าถึงความต้องการของผู้ป่วย คือ การช่วยบรรเทารอยแผลในจิตใจของผู้ป่วยที่ประสบกับปัญหาสุขภาพจิตให้พวกเขาได้สามารถเปิดเผยความรู้สึกของตัวเองต่อเพื่อนและคนที่รักเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ผ่านการช่วยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดออกมา

 

ยิ่งไปกว่านั้น การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและให้กำลังใจคนที่ต้องการความช่วยเหลือก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน การฝึกสมาธิและการฝึกจิตใจเป็นอีกเทคนิคที่จะช่วยบำบัดจิตใจ รวมไปถึงการนำวิทยาการรักษาทางคลินิกมาใช้ในการรักษาร่วมกับโยคะและการนั่งสมาธิ ฯลฯ

              

“ผู้ที่ประสบปัญหาภาวะซึมเศร้าสามารถขอความช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะจากการหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์หรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว ซึ่งการเข้าบริการรักษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยเหลือ”

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,809 วันที่ 14 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565