การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้โลกของเราต้องก้าวไปสู่วิถีชีวิตแบบ New Normal ซึ่ง digitalization ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมา ไม่ว่าจะแง่ของ สังคม การใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั้งการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของหน่วยธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน และรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้คนที่ไวแบบทวีคูณ โดยเรียกได้ว่าถือว่าเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดในทุกๆ ด้าน เพราะนั้นคือเส้นทางสู่ความอยู่รอดของทุกภาคส่วนในปัจจุบัน
ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โลก digital ถือว่าเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนในทุกๆ ด้านในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน สื่อสาร หรือแม้แต่การใช้ชีวิต ซึ่งต้องพึ่งพาระบบ digital อย่างมาก จึงไม่แปลกหากความนิยมของโลกออนไลน์จะเพิ่มทวีคูณในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งโซเชียลมีเดียได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มคนยุคปัจจุบัน
ไม่ว่าจะจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็ตาม โดยข้อมูลข่าวสาร หรือการเรียนรู้ได้ถูกทำบนระบบออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิมเกินครึ่ง ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนผ่านระบบออนไลน์ การทำงานแบบ Work from Home หรือการทำการทำการตลาดแบบใช้กลยุทธ์ออนไลน์เป็นหลักอ้างอิงจากรายงานเม็ดเงินในสื่อออนไลน์ที่โตขึ้นแบบมหาศาลทั่วโลกในปีที่ผ่านมา
แม้สถานการณ์จะยังไม่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เราทุกคนก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า การทำงานในลักษณะเดิมอาจถูกแทนที่ด้วยการผนวกการทำงานแบบ digital เข้าไปแทน ซึ่งทำให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ไร้ข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และตอบโจทย์การทำงานของคนรุ่นใหม่ใน digital era อย่างแท้จริง นี่คือจุดเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการทำงานในอนาคต
ซึ่งจะฉีกกฎในการทำงานที่เคยเป็นมาในรอบหลายทศวรรษเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้น การมาของเทคโนโลยีล้ำสมัยอาจจุดประกายสู่การพัฒนาและพลิกวิถีเดิมไปสู่จุดที่ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรหรือสถานที่จัดแสดงสินค้าอยู่บนโลกจริงอีกต่อไป แต่กลับย้ายไปอยู่บนโลกเสมือนอย่าง “Metaverse”
“Metaverse” หรือตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติไว้ว่า “จักรวาลนฤมิต” คือโลกเสมือนบนพื้นที่ Digital จากการเชื่อมต่อโลกจริงและเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะผสานกันอย่างไร้รอยต่อโดยอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ล้ำสมัย ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) มาเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนจริงยิ่งขึ้น
เราจึงสามารถเข้าไปใช้ชีวิต มีปฏิสัมพันธ์ ตลอดจนทำกิจกรรมต่างๆ ภายนอกบ้านได้แม้เราจะอยู่ภายในบ้านก็ตาม เหมือนกับว่าเรามีตัวตนอยู่ในสองโลกไปพร้อมๆ กัน โดยสามารถใช้เพื่อการเรียน การทำงาน การสื่อสารทางไกล หรือการซื้อ-ขายเพื่อการลงทุนสินทรัพย์ digital ของตนเอง และยังสามารถปรับใช้ได้กับการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ดึงดูดและตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้า
ในมุมของภาคธุรกิจ “Metaverse” ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ หลายองค์กรได้มีการขยับขยายตนเองสู่ โลก “Metaverse” แล้ว และยังมีอีกหลายบริษัทที่มุ่งเน้นที่จะสร้างมันให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งจุดประสงค์หลักเพื่อที่จะเสริมความแข็งแกร่งของตนโดยปรับให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด
ตัวอย่างเช่น บริษัทอิเกีย (IKEA) พัฒนาเทคโนโลยี AR เพื่อให้ลูกค้าสามารถทดลองสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งลูกค้าจะได้เห็นทั้งสีและขนาดของสินค้าเสมือนจริง เหมือนกับว่าหยิบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นมาอยู่ที่บ้าน ซึ่งช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น
ในอนาคตองค์กรอาจไม่จำเป็นต้องซื้อหรือเช่าสถานที่เพื่อวางขายสินค้าบนโลกจริงอีกต่อไป และปรับเปลี่ยนไปอยู่บน ‘Metaverse’ ที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงและทดลองสินค้า ตลอดจนชำระเงินเพื่อซื้อสินค้านั้น ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนในการจัดหาสถานที่ขององค์กรด้วย
ท้ายนี้ “Metaverse” ยังคงเป็นช่องทางใหม่ที่คาดว่าน่าจะมาเสริมช่องทางในการทำการตลาดในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงใช้เวลาในการพัฒนาประสิทธิภาพ และทำให้เป็นที่นิยมของคนหมู่มาก ซึ่งถือว่าไม่ยากและคาดว่าคงอีกไม่นานที่เราทุกคนจะเข้าสู่ยุค digital กันอย่างเต็มตัว
ดังนั้นการปรับตัวขององค์กรต่าง ๆ ให้เข้าสู่โลก ‘Metaverse’ นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งพันธกิจหลัก เพื่อที่ทำให้ตนสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคตได้ และถ้าหากแบรนด์สามารถขยับขยายตนเองสู่ช่องทางนี้ได้เร็ว ก็มีสิทธิที่จะพลิกตนเองเป็นเจ้าตลาดในโลก “Metaverse” ได้อย่างง่ายดาย
ที่มา: https://www.businesswire.com/news/home/20220106005903/en/Enterprise-Metaverse-Emploees-Are-Ready-Can-Organizations-Deliver
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,756 วันที่ 10 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565