โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเชื่อว่าคนที่ลงทุนในตลาดหุ้นเป็นพวกมีเงิน
ดังนั้น การเก็บภาษีแบบนี้จึงไม่น่าจะส่งผลต่อการออมเพื่อเกษียณอายุของประชาชนทั่วไปเหมือนภาษีด้านอื่น ๆ แต่ก็มีข้อยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหลักทรัพย์ ให้แก่กลุ่มกองทุนเพื่อการเกษียณ อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น นั้น
ในเรื่องนี้ คณะกรรมาธิการ การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา ได้ทำการศึกษาและหารือกับภาครัฐ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดทุนแล้ว ซึ่งเห็นปัญหาและข้อกังวลของทุกฝ่ายที่พอสรุปได้ว่า
สำหรับข้อเสนอแนะทางนโยบายนั้น ทางคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา มีข้อเสนอต่อรัฐบาลในการจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้น ดังนี้
ดังนั้น มติ ครม. ในเรื่องนี้จะมีผลใช้บังคับในเร็ววันนี้หลังจากมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งคาดว่าจะใช้ในเดือนมีนาคม 2566 นี้ โดยในปีแรกจะจัดเก็บในอัตรา 0.055% และปรับขึ้นเป็น 0.11% ใน 2567 เรื่องนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันมาก และจากการหารือก็เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่าย คือ กระทรวงการคลัง และฟากเอกชนผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่างมีความเห็นคนละขั้ว การวิเคราะห์ประมาณการณ์ผลกระทบต่างกันลิบลับ
แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องความเชื่อมั่นในตลาดทุน และเป็นความอ่อนไหวที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจภาพรวม และยิ่งสำคัญมากขึ้นในปีนี้ เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวจากโควิด แต่อยู่บนถนนที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงรอบด้าน ทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยแพง ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ หนี้สารพัด ฯลฯ ทำให้เราต้องคิดโดยความละเอียดอ่อนและรอบคอบในทุกเรื่องจริง ๆ และเรื่องนี้ตั้งหลักดี ๆ และให้พร้อมกว่านี้ก็ไม่เสียหลาย