อัพเดทเทรนด์ปี 2567

11 ก.พ. 2567 | 07:11 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.พ. 2567 | 07:20 น.

อัพเดทเทรนด์ปี 2567 : THOUGHT LEADERSHIP ผู้นำวิสัยทัศน์ นางสาวกมลธิดา พรรณพิพัฒน์ Corporate Communication : IPG Mediabrands

อัพเดทเทรนด์ปี 2567 นี้มีเทรนด์ใดที่เกิดขึ้นและน่าสนใจบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

1. Deal Detective หรือการตามล่าหาข้อเสนอที่ผู้บริโภคพึงพอใจที่สุด 

ร้านค้า และแบรนด์ต่างๆ ได้สร้างนิสัยใหม่ให้กับผู้บริโภคในเรื่องการ “Smart Shopping” หรือการช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาด ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าได้ โดยผ่านช่องทางออนไลน์ของร้านค้า shopping platform ทำให้เกิดการเปรียบเทียบข้อมูลของสินค้ารวมถึงการเปรียบเทียบราคาของแต่ละช่องทาง และแบรนด์ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า

โดยสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือ โปรโมชั่นวันเลขเบิ้ล ที่สินค้าส่วนใหญ่ตบเท้ากันมาจัดโปรโมชั่น มีดีลดีมาเสนอกับผู้บริโภคทำให้เกิดพฤติกรรมนักล่าดีลหลายคนมารอจับจ่ายเวลาและวันที่เป็น big promotion เนื่องจากผู้บริโภครู้แล้วว่าจะต้องเกิดการจัดโปรโมชั่นและแบรนด์ที่จัดโปรโมชั่นจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากกว่า

2. การครองสถานะโสดและไม่มีบุตร

ผู้คนจำนวนมากจะปฏิเสธการมีคู่ครอง แต่งงานหรือบุตร โดยคาดว่าจำนวนทารกแรกเกิดจะน้อยกว่า 500,000 คนในปี 2566 ทำให้ขนาดของครอบครัวนั้นเล็กลง

ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตคนเดียวมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมการซื้อที่จะเน้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นตนเองเพียงคนเดียว ไม่ได้ซื้อของในปริมาณที่เยอะ เลือกสินค้าเพียงความพึงพอใจของตนเองทำให้ไม่ซื้อของในปริมาณเกินกว่าความต้องการของตนเอง รวมทั้งสถานะโสดทำให้มีเวลาดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นสนใจในเรื่องของการให้รางวัลตนเองและให้รางวัลกับตนเองเป็นหลัก

และรวมไปถึงการมีเวลาการเสพสื่อนานขึ้นเนื่องจากอยู่เพียงคนเดียว ช่วงเวลาหลังจากเลิกงานที่เป็นช่วงเวลาพักผ่อน จะมีแนวโน้มที่จะเสพสื่อประเภท long form content หรือเนื้อหา ข่าวสาร ที่สารมีปริมาณมาก ต้องใช้เวลาในการรับสารรับชมเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลให้ prime time ของผู้บริโภคในปัจจุบันอาจยาวนานกว่าในอดีต

อัพเดทเทรนด์ปี 2567

3. ความคลั่งไคล้ในกีฬา

อีกหนึ่งในความสนใจในตอนนี้คือ การแข่งขันกีฬา ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมทีวีและสตรีมมิ่งออนไลน์หลายล้านคน ทั้งเป็นการรวมตัวของคนที่ชื่นชอบในกีฬาแบบเดียวกัน ทั้งความชื่นชอบในนักกีฬา แสดงความร่วมมือร่วมในการร่วมเชียร์นักกีฬาของประเทศ อีกทั้งเนื้อหาของกีฬานั้นมีให้รับชมมากมายในแง่ของประเภทกีฬา รายการแข่งขัน

รวมทั้งแต่ละประเทศเองก็มีการจัดการแข่งขันของตนเองแยกอีก ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ชื่นชอบกีฬาและผู้ชมจำนวนมาก อีกทั้งการเปิดกว้างในยุคสมัยปัจจุบันในเรื่องการแต่งตัว ทำให้สินค้ากีฬา เสื้อผ้า ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นในการสวมใส่เป็นเสื้อผ้าในชีวิตประจำวัน อย่างไม่รู้สึกแปลกตา

4. LGBTQ+

การสมรสเท่าเทียม เนื่องจากกระแสของ LGBTQ+ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยรวมทั้งแนวทางนโยบาลของรัฐบาลที่ ต่อ LGBTQ+ มากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดมุมมองใหม่เกิดขึ้นและเกิดความเข้าใจใน LGBTQ+ มากขึ้น เกิดการตระหนักในความหลากหลาย

ทำให้กระแสของกระตระหนัก และความเข้าใจต่อ LGBTQ+ นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เกิดการตลาดของแบรนด์มากมายที่แสดงออกถึงความเท่าเทียม และสินค้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น แบรนด์ที่แสดงถึงความตะหนักและตอบสนองนั้นก็จะเป็นที่สนใจและเกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น

5. Silver Generation

หรือกล่าวได้ว่าเป็น “ผู้บริโภคกลุ่มมั่งคั่ง” เป็นกลุ่มผู้บริโภคอายุ 55 ขึ้นไป ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีความภักดีต่อแบรนด์สูงสุด เรียกได้ว่ารักแล้วรักเลย มีพฤติกรรมการซื้อซ้ำและแนะนำต่อให้กับเพื่อน ญาติ มีกำลังซื้อที่สูง และมีเวลาในการศึกษาข้อมูลของสินค้า รวมถึงมีการโต้ตอบกับแบรนด์สูง โดยผู้บริโภคกลุ่ม Silver Generation จะสนใจข่าวสารที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน รวมทั้งสนใจในเรื่องของสุขภาพมาเป็นอันดับแรก

จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ส่งผลถึงการปรับตัว การทำการตลาด การสื่อสารของแบรนด์ด้วยเช่นกัน เพื่อให้สอดรับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นความท้าทายของแบรนด์ต่างๆจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การมองในภาพของการขายสินค้าเพียงเท่านั้น แต่เทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปยังสามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคหรือแม้แต่การเสียผู้บริโภคไปเช่นกัน ให้ได้นั้นการตามเทรนด์ให้ทันก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,964 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567