“ดาต้าเซ็นเตอร์” ฐานเก็บข้อมูล ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

14 พ.ย. 2567 | 04:12 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2567 | 04:21 น.

“ดาต้าเซ็นเตอร์” ฐานเก็บข้อมูล ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย คอลัมน์ SUPER TRADER

KEY

POINTS

  • “ดาต้าเซ็นเตอร์” ถูกมองเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของการลงทุนในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ จากผู้เล่นระดับท้องถิ่นและผู้เล่นระดับโลก ที่ต้องการเข้ามาตั้งไทยเป็นฮับดาต้าเซ็นเตอร์ของภูมิภาค
  • ไทยอยู่อันดับ 3 ของอาเซียน คาดปี 2567-2570 การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ของไทย จะมีมูลค่ามากกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็น 1.1% ของ GDP
  • ปัจจุบัน ประเทศไทย มีดาต้าเซ็นเตอร์ มากกว่า 50 แห่งในกรุงเทพฯ

“ดาต้าเซ็นเตอร์” ฐานเก็บข้อมูล ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย คอลัมน์ SUPER TRADER โดย สุชาวดี เรียบร้อย Super Trader

 

สำหรับ ความสำคัญของ “ดาต้าเซ็นเตอร์” นั้น ถูกมอง เป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของการลงทุนในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งจากผู้เล่นระดับท้องถิ่น และผู้เล่นระดับโลก ที่ต้องการเข้ามาตั้งไทยเป็นฮับดาต้าเซ็นเตอร์ของภูมิภาค โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ขนาดดาต้าเซ็นเตอร์ต่อจำนวนประชากรในไทยเติบโตไปแล้วกว่า 54%

ไทยอยู่อันดับ 3 ของอาเซียน พร้อมคาดว่า ในช่วงปี 2567-2570 การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ของไทย จะมีมูลค่ามากกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็น 1.1% ของ GDP แต่ยังเป็นรองมาเลเซีย มอง ตลาดบริการดาต้าเซ็นเตอร์ไทยน่าจะเติบโตเฉลี่ยกว่า 31.2% ต่อปี
 


 

“ดาต้าเซ็นเตอร์” ฐานเก็บข้อมูล ที่กำลังเติบโตในประเทศไทย

 

หลายคน อาจเพิ่งเคยได้ยินชื่อคำว่า Data Canter และ กำลังสงสัยกันอยู่ว่า ระบบ Data canter สำคัญอย่างไร? 

ต้องบอกว่า ปัจจุบัน ระบบ Data canter ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในแต่ละองค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่ หรือ ขนาดย่อย คล้ายห้องที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเซิร์ฟเวอร์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Web Hosting จนถึง ระดับ Super Computer ยิ่งองค์กรใหญ่ ข้อมูลเยอะ ระบบ Data canter ยิ่งมีความสำคัญ 

โดย ดาต้า เซ็นเตอร์ มักจะถูกเก็บเอาไว้ที่ Co-Location เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และ เสถียรมากที่สุด มีระบบไฟฟ้าที่ดีไหลผ่านตลอดเวลา มีพลังงานสำรอง ควบคุมโดยวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องอาศัยการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อใช้การการรับ-ส่ง ข้อมูล ด้วยความปลอดภัยขั้นสุง


ปัจจุบัน ประเทศไทย ได้มีการก่อตั้ง “สมาคมดาต้าเซ็นเตอร์แห่งประเทศไทย” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ หรือ เรียกโดยย่อว่า TDCC โดยถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

ประเทศไทย มีจุดแข็ง ในแง่ทำเลที่ตั้งและนโยบายสนับสนุนด้านดิจิทัล อย่างชัดเจน ทำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายสำคัญของการลงทุนจากผู้ให้บริการดิจิทัลและดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก  

สอดคล้องกับข้อมูลของ Statista เผยรายได้ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ปี 2566 คาดว่าสูงแตะ 2.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 5 ปี เป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดนี้ให้กลายเป็น Critical Industry ของประเทศ
 

 

ดาต้าเซ็นเตอร์ เด่นกลุ่ม อสังหาฯ ไทย 

เจาะในแวดวงอสังหาริมทรัพย์นั้น ความต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ (Data canter) ที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน ในวงการซื้อ-ขาย ที่ดิน เช่าพื้นที่ แย่งชิงทำเลศักยภาพ ภายใต้การรายงาน ของบริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ ว่าปัจจุบัน ประเทศไทย มีดาต้าเซ็นเตอร์ มากกว่า 50 แห่งในกรุงเทพฯ

เช่นเดียวกับ ข้อมูลของ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ที่ชี้ให้เห็นความน่าสนใจของธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ ตั้งแต่ช่วงปี 2565 เกิดความคึกคักของที่ดิน ทั้งในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล ชลบุรี ระยอง นับตั้งแต่การบุกเบิกของ STT และ Super nap ได้เข้ามาสู่ประเทศไทย 

กลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ อิเล็กทรอนิกส์  นิคม โรงไฟฟ้า รับเหมาระบบSI

ในเชิงของภาพรวม ถือเป็นมุมมองเชิงบวกต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าทั้งกลุ่ม เนื่องจากธุรกิจ Data Center เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีระบบไฟฟ้าสนับสนุนการ ทำงานตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการดำเนินงานเป็นจำนวนมาก

อีกทั้งการขยายธุรกิจ Data Canter อาจส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการ สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนสำหรับธุรกิจ Data Center เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยหนุนให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าดานการออกกฏระเบียบเพื่อส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาด อาทิ การทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง, การขายไฟฟ้าสีเขียว หรือการเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงพลังงานสะอาดได้มากขึ้นอีกด้วย