จัดกลุ่มสินเชื่อเอสเอ็มอี บีบใช้บัญชีเดียวกู้แบงก์ ขึ้นค่าแรงกดดัชนีเชื่อมั่น

10 ก.พ. 2561 | 01:33 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.พ. 2561 | 08:33 น.
แบงก์จัดกลุ่มหนุนสินเชื่อเอสเอ็มอี คลอดโปรดักต์ดอกเบี้ยตํ่าจูงใจใช้บัญชีเดียว เผยทั้งระบบจดทะเบียนแล้ว 4.6 แสนราย จับตาแบงก์ชาติประกาศมาตรการใหม่สภาวิชาชีพบัญชีห่วงรายกลาง-ใหญ่ปรับตัวไม่ทัน ขณะที่ขึ้นค่าแรงกดดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอีทรุดต่อ

[caption id="attachment_122699" align="aligncenter" width="503"] นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร[/caption]

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการบัญชีชุดเดียวว่า กรมสรรพากรจะเข้าไปร่วมให้ความรู้กับผู้ประกอบการร่วมกับธปท.โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการบัญชีเดียวในรอบบัญชีปี 2560 จะครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลในเดือนพฤษภาคมปี 2561

พระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบ การเอสเอ็มอีเข้าสู่โครงการบัญชีเดียวได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในรอบบัญชีปี 2559 และเงื่อนไขไม่ตรวจภาษีย้อนหลัง

MP24-3338-A พ.ร.ก.นี้ ครอบคลุมผู้ประกอบการไม่เคยมีทุนที่ชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาท หรือต้องไม่เคยมีรายได้จากการขายสินค้าและการบริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกิน 30 ล้านบาท และจะได้รับยกเว้นภาษีกรณีมีกำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท และลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3 แสนบาท

[caption id="attachment_158769" align="aligncenter" width="503"] จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล[/caption]

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปความคืบหน้าโดยปัจจุบันคณะอนุกรรมการหารือกัน สภาวิชาชีพบัญชีจะวางกรอบการทำงานเพื่อให้เอสเอ็มอีทั้งระบบรวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็กสามารถยื่นแบบแสดงรายการฯได้ทุกแห่ง

“ส่วนหนึ่งที่พบว่ายังมีปัญหาคือผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่ที่อาจจะปรับตัวไม่ทัน โดยเฉพาะรายที่ใช้บัญชีไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือถ้าแสดงการจัดทำบัญชีและงบการเงินไม่ถูกต้องก็จะถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง”

[caption id="attachment_257415" align="aligncenter" width="503"] ปฏิเวช สันตะวานนท์ ปฏิเวช สันตะวานนท์[/caption]

นายปฏิเวช สันตะวานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แนวทางการยกระดับให้เอสเอ็มอี จดแจ้งและทำบัญชีเดียวกับกรมสรรพากรนั้น ปัจจุบันทั้งระบบมีตัวเลขผู้ประกอบการจดแจ้ง 6 แสนราย โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่แอกทีฟประมาณ 4.8 แสนราย ซึ่งมีจดแจ้งบัญชีเดียวประมาณ 4.6 แสนราย

อย่างไรก็ตามภายหลังธปท.และสมาคมธนาคารไทยร่วมหารือระหว่างกันธปท.ได้ให้ธนาคารพาณิชย์จัดกลุ่มลูกค้าเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่พร้อมเข้าทำ คือ มีการลงบัญชีถูกต้องมีจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อยื่นงบให้กรมสรรพากรตรวจสอบ 2.กลุ่มที่พร้อมแต่ยังไม่ทำ จะเป็นกลุ่มที่ยังมีการขายของ 2 แบบ โดยขายของนอกงบไม่ได้มีการลงบัญชีหรือตรวจสอบ และ 3.กลุ่มที่ไม่พร้อมทำ คือไม่มีการทำบัญชีตรวจสอบเลย

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 การแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการสนับสนุนลูกค้าได้ถูกกลุ่มมากขึ้นโดยธนาคารจะต้องเกลี่ยให้ลูกค้ากลุ่มที่ 1 และ 2 เข้ามาตรฐานบัญชีเดียวให้ได้เร็วที่สุด เพราะเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมแต่ยังไม่มั่นใจขอรอดูอยู่ ธนาคารจึงต้องสร้างแรงจูงใจให้กับ 2 กลุ่มนี้โดยการออกโปรดักต์ จูงใจให้ลูกค้าจัดทำบัญชีเดียวผ่านการเสนออัตราดอกเบี้ยที่ตํ่า แต่ละธนาคารจะแยกย้ายกันไปทำตามกลยุทธ์ของแต่ละแห่ง ซึ่งธนาคารกรุงไทยเริ่มทำแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ผ่านโปรแกรมอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% นาน 2 ปี วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีลูกค้าเข้ามาใช้พอสมควร
ส่วนลูกค้ากลุ่มที่ 3 จะต้องเร่งให้ความรู้กับลูกค้ากลุ่มนี้โดยสมาคมธนาคารไทยได้จัดตั้งชมรมพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอี โดยทุกธนาคารร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ธปท.จะแถลงแนวนโยบายการทำธุรกิจสินเชื่อ เพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปในทิศทางเดียวกัน โดยเนื้อหาหลักๆจะเป็นการส่งเสริมให้ธนาคารใช้งบการเงินที่นิติบุคคลส่งสรรพากรพิจารณาสินเชื่อ

[caption id="attachment_146124" align="aligncenter" width="477"] BEM เบญจรงค์ สุวรรณคีรี[/caption]

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี(TMB Analytics) เปิดเผย “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 4/2560 ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันผู้ประกอบการอยู่ที่ 35.5 ลดลงจาก 37.3 ในไตรมาสก่อน โดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาที่ 41.9 จาก 38.9 ในไตรมาสก่อน แต่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนปัจจุบันลดลงมาที่ 29.1 จาก 35.7 ในไตรมาสก่อน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 51.9 ลดลงจาก 52.4 จากไตรมาสก่อนโดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มมาที่ 65.9 จาก 62.9 ในไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีความเชื่อมันด้านต้นทุน 3 เดือนข้างหน้าลดลงมาที่ 37.8 จาก 41.9

ดัชนีรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวการท่องเที่ยว และการจับจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ด้านต้นทุนลดลงมาเพราะค่าจ้างขั้นตํ่า และราคานํ้ามันเพิ่มขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว