บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

11 ก.ย. 2562 | 08:35 น.

ด่านแรกผ่านฉลุย บอร์ด กยท. ไฟเขียวประกันรายได้ยาง 3 ชนิด ผ่านบัตรสีชมพู-บัตรเขียวฉลุย ลุ้น กนย.เคาะต่อไป “ธีรพงศ์” เผยมาตรการนี้ไม่ได้ยกระดับราคา ซ้ำยังดิ่งเหวหนัก เผยท้วงติงประกันราคายางเดียว 60 บาท/กก.สร้างความเท่าเทียม ท้ายสุดก็ต้องยอมจำนนจ่ายไม่ไหว 6-7 หมื่นล้าน ขณะที่ ‘สังข์เวิน’ เสนอขยายวลาให้บัตรสีชมพูรายใหม่ขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการด้วย

 

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) และในฐานะประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดเกษตรและสหกรณ์ รักษาการประธานบอร์ด เป็นประธานในที่ประชุมมีมติเห็นชอบเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562  โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่  กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ (ยางแห้ง) 240 กก./ไร่/ปี หรือ 20 กก./ไร่/เดือน กำหนดระยะเวลาประกันรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนตุลาคม 2562 – เดือนมีนาคม 2563) จะได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น "บัตรสีเขียว" หรือ "สีชมพู" เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านบอร์ดเรียบร้อยแล้ว

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

“ขั้นตอนต่อไปก็ผ่านคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) และ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไปตามลำดับ ก็มองว่ารัฐบาลต้องการช่วยเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 25 ไร่ อาจจะได้ราคาเต็ม แต่มีบางรายอาจจะได้ราคาไม่เต็มอาจจะเป็นเพราะคุณกรีดยางก้อนถ้วยไม่ถึง 60 บาท เพราะว่าตอนนี้ กยท.แบ่งราคายางที่ประกันรายได้ เป็น 3 ชนิด ซึ่งจะเป็นคำถามของเกษตรกรเป็นไปตามนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพูดหรือไม่ ว่าประกันราคายาง ที่ 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57บาท/กิโลกรัม ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 25 บาท/กิโลกรัม แต่ถ้าคุณทำยางแผ่นดิบถึงจะได้ 60 บาท/กก.”

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

นายธีรพงศ์ กล่าวว่า วันนั้นผมก็พูดในบอร์ดว่า จากการแบ่งประกันราคายางเป็น 3 ชนิด จะยากในการปฎิบัติงาน แม้ว่าจะมีคณะทำงานระดับตำบลสอบ เพราะเกษตรกรเห็นแล้วว่าถ้าแจ้งเป็นแผ่นดิบจะได้ราคา 60 บาท/กก. แต่ถ้าแจ้งยางก้อนถ้วยจะได้แค่นิดเดียว ดังนั้นใครก็อยากจะแจ้งเพื่อได้ราคา 60 บาท/กก. จะมาหนักใจกับคณะทำงาน เพราะคณะทำงานบอกว่าจะต้องไปตรวจพื้นที่ แล้วก็ต้องลงไปตรวจเครื่องรีด เพราะถ้าคุณไม่มีเครื่องรีดแสดงว่าคุณไม่ได้ทำยางแผ่น ผมถามว่าไปตรวจทุกแปลงไหวหรือไม่ ขณะที่ กยท.ตอนขึ้นทะเบียนได้แจ้งขึ้นทะเบียนไว้หรือไม่ว่าทำยางชนิดอะไร กยท. ก็บอกว่า มี  แล้วถ้าใช้ตัวนี้อ้างอิงได้หรือไม่ แล้วถ้าได้ แต่มาบอกว่าตอนนี้เปลี่ยนแล้วมาทำยางแผ่น สุดท้ายก็ต้องลงไปตรวจ เพราะว่ายางการผลิตเปลี่ยนกันได้ หรือบางคนทำยางแผ่น วันนี้จะเปลี่ยนก็ขายน้ำยางสดได้ จะทำอย่างไร

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

“ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางอ้างอิง ประกาศทุก 2 เดือน (บาท/กิโลกรัม) ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง หมายถึง ผลผลิตยาง จำนวน 20 (ผลผลิตยางแห้ง/ไร่/เดือน) X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวนร้อยละ 60 และ คนกรีดร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องนำใบเสร็จการซื้อขายมาโชว์ โอนเงินผ่าน ธ.ก.ส.เลย”

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

นายธีรพงศ์ กล่าวว่า เมื่อเห็นปัญหาแบบนี้จึงเสนอขอใช้มาตรฐานเดียว คูณไปเลย 25 ไร่ แล้วก็จ่ายไปเลยแต่กลายว่าเมื่อรัฐมนตรีเกษตรฯไปสัญญาแล้วว่าจะต้อง 60 บาท/กก. ขณะที่ราคาท้องตลาด 40 บาท/กก. ห่างกัน 20 บาท/กก. ถ้ารัฐจะชดเชย 20 บาท/กก.ด้วยทั้งหมด เมื่อคำนวณงบประมาณ แล้วสูงมากใช้ถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ก็ไม่ไหว เชื่อว่า ครม.ก็คงไม่อนุมัติแน่นอน จึงต้องมาเป็นรูปแบบ 3 ชนิดยางเพื่อจ่ายงบประมาณถัวเฉลี่ยกันไปถึงต้องยอมด้วยเหตุผลนี่แหละ เพราะหลายคนกังขาว่าทำไมไม่ใช้มาตรฐานเดียวกัน และยางชนิดเดียวกันจะง่ายกับระบบในการทำงานก็จะง่ายไปด้วย แต่พอมาอ้างเรื่องงบประมาณก็เห็นด้วย

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

“แต่ส่วนตัวผมค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายพรรคของประชาธิปัตย์ไม่ได้ช่วยเหลือหรือเพื่อช่วยระดับราคาเพราะได้แค่ 25 ไร่ แต่ว่าในส่วนที่เหลือโดนกดราคาซ้ำเติมอีก แล้วมาได้แค่ 25 ไร่ ไม่ต้องประกันดีกว่าก็ปล่อยไปอย่างนี้ เพราะภาพรวมทำให้เกษตรกรโดนกดราคามากกว่าด้วยซ้ำไป "

บอร์ด กยท.ทุบโต๊ะประกันรายได้ยาง 60บาท/กก.

เช่นเดียวกับ นายสังข์เวิน ทวดห้อย  กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) (บอร์ด) กล่าวว่า เมื่อบอร์ดมีมติแล้วได้มอบหมายให้ผู้ว่าการฯ ทำเรื่องเสนอไป ผ่าน กนย. เพื่อให้ ครม.เห็นชอบต่อไป ในที่ประชุมผมได้เสนอว่า "บัตรสีชมพู" ควรขยายระยะเวลาภายในเดือนกันยายนเพื่อให้คนมาขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เพราะอย่างไรก็จ่ายเงินเดือนตุลาคมอยู่แล้ว