วันที่ 9 ธันวาคม 2562 นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รับอนุญาตให้ประชุมสาธารณะเรียบร้อยแล้วจาก สน.นางเลิ้ง วันนี้ได้มีการประชุม 9 ผู้แทนชาวประมงถึงแนวทางการขับเคลื่อน หลังจากที่สมาคมประมงจังหวัดและสมาชิกชาวประมงจังหวัดต่างๆ ได้ยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเลแล้ว ในวันที่6 ธันวาคมที่ผ่านมา
ที่ประชุมได้ มีมติให้มีการดำเนินการตามมติที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและสมาคมอวนล้อม(ประเทศไทย)และสมาชิกสมาคมฯคือการขอให้มีการจัดการชุมนุมสาธารณะ ที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่17 ธันวาคม 2562ตั้งแต่ 7.00น.เป็นต้นไปจนถึงวันที่15มกราคม 2563 นั้น จึงขอประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกสมาคมประมงจังหวัดต่างๆมาร่วมชุมนุมสาธารณะที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันที่17ธ.ค.62 เป็นต้นไป
นายมงคล กล่าวว่า ได้ทราบข่าวในวันที่ 11 ธันวาคมนี้นายนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะแถลงข่าว เรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมง นั้นไม่มีผล เพราะเลยอำนาจของที่ปรึกษาแล้วคนที่จะมาเจรจาจะต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นไปเพราะจะมีอำนาจในการแก้กฎหมายให้กับชาวประมงได้
ในวันเดียวกันนายสิตภิธัมพอน เกษรแก้วชวนันท์ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรของพระราชาได้เดินทางมาที่สน.นางเลิ้ง เพื่อแจ้งหนังสือการชุมนุมสาธารณะที่หน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 17-20 ธันวาคม 25672 ชุมนุมพักค้างคืน โดยจะเดินทางถึงช่วงเช้ามืดวันที่ 17 ธ.ค.62 สาระสำคัญก็คือ สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในนามกลุ่มเกษตรกรของพระราชา ในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ ประมาณ 1,000 คน
นำโดย นายโกวิทย์ เทพไพฑูรย์ ที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกรของพระราชา ฯ ,นายมาโนช อินทะกูล ประธานกลุ่มกลุ่มเกษตรกรของพระราชาจังหวัดกำแพงเพชร และ น.ส.ราตรี เอี่ยมสะอาด ประธานกลุ่มเกษตรกรของพระราชาจังหวัดนครสวรรค์ (ภรรยาของนายโกวิทย์ฯ ที่ปรึกษา) น.ส.ศศิรัศมิ์ พันธ์พลกลางนายสิตภิธัมพอน เกษรแก้วชวนันท์ เเนวร่วมจ.อ่างทอง
วัตถุประสงค์ ขอให้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้สมาชิกที่ตกหล่นเพิ่มเติม ฯ ตามมติ ครม. 7 เมษายน 2553 จำนนวน 36,605 คนโดยหลังมติ ครม. เมื่อ 2 ต.ค.61 คงเหลือสมาชิก ได้รับการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้สิน ฯ ประมาณ 18,000 คน ทำให้สมาชิกฯ ตกหล่น ไม่ได้รับการแก้ไขฯ เข้าสู่ที่ประชุม มติ ครม. และขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ อาทิ ธกส.,สหกรณ์การเกษตร จำกัด, ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ร่วมมือกับ สนง.กฟก. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิก และจัดทำแผนโครงการฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรด้วย