นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ หรือ กรอ.พาณิชย์ ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาพันธ์โลจิสติกไทย สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกร-ไก่ เพื่อการส่งออก สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย และสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย
ทั้งนี้เพื่อหารือสถานการณ์รับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และกำหนดแนวทางการรับมือในเรื่องการดูแลสินค้าอุโภคบริโภคของประชาชนให้มีเพียงพอในประเทศ เช่น ข้าว ไก่ ไข่ หมู น้ำมันพืช อาหารสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ยา ผักผลไม้ และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้อง เช่น มัน ข้าวโพด เหล็กทำกระป๋อง ฯลฯ เพื่อกำหนดมาตรการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการกักตุนหรือขาดตลาด โดยที่ประชุมให้ความสำคัญกับการเร่งจัดหาหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากากทางเลือก ที่จำเป็นต้องเร่งนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งติดปัญหาว่าภาคเอกชนชะลอนำเข้าเพราะหน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุมราคาจำหน่าย
ด้านกรมการค้าภายในยืนยันว่าหน้ากากอนามัยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถจำหน่ายตามราคาต้นทุนที่นำเข้ามาและบวกเพิ่มกำไรได้ และขณะนี้กลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอยังปรับตัวหันมาผลิตหน้ากากอนามัยผ้า อีกทั้ง กลุ่มผู้ผลิตเครื่องสำอางก็ปรับตัวหันมาผลิตแอลกอฮอล์ และเจลล้างมือ ซึ่งสินค้ากำลังทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าประชาชนจะเข้าถึงสินค้าจำเป็นได้มากขึ้น ล่าสุด ที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มสินค้าออกเป็น 7 กลุ่ม โดยรองนายกฯ จุรินทร์มอบหมายให้แต่ละกรมร่วมเป็นเจ้าภาพตั้งศูนย์บัญชาการ หรือ วอร์รูมกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าทั้งระบบ ได้แก่ 1.อาหารสำเร็จรูป ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 2.สินค้าอาหารสด ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมการค้าภายใน
3.ข้าว ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ 4.ผลไม้ ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมการค้าภายในและกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ5.วัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ 6. Logistics ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักยุทธศาสตร์การค้า 7.ยาและเครื่องทือแพทย์ ผู้รับผิดชอบได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ วอร์รูมทุกกลุ่มจะดำเนินมาตรการดูแลสถานการณ์รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ด้านนายมงคล พิพัฒน์สัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ กล่าวว่า จากที่มีกระแสข่าวว่า ไข่ไก่ขาดแคลน จนเริ่มแพงขึ้น และมีสัญญาณที่จะขึ้นราคาอีกแผงละ 6 บาทในสัปดาห์หน้า เนื่องจากไข่ไก่ในประเทศเริ่มขาดตลาด เพราะมีการกักตุนส่งออกไปสิงคโปร์ หลังจากมีการปิดประเทศมาเลเซีย ว่า ไม่เป็นความจริงขณะนี้ผลผลิตไข่ไก่ของประเทศไทยยังออกมาเป็นปกติวันละกว่า 40 ล้านฟอง ราคาหน้าฟาร์มไข่ไก่คละอยู่ที่ฟองละ 2.80 บาทถือว่าเป็นราคาที่ทำให้เกษตรกรอยู่ได้โดยมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 2.60 บาทถึง 2.70 บาทจากที่เคยขาดทุนมาตลอดเป็นระยะเวลาหลายปี และแม้ว่าในขณะนี้ประชาชนจะมีความต้องการบริโภคไข่ไก่มากขึ้น 3-5 เท่าจากภาวะปรกติแต่เกษตรกร ผู้เลี้ยงไก่ไข่ยืนยันว่าจะไม่ช่วยโอกาสปรับขึ้นราคาไข่ไก่หน้าฟาร์ม โดยตนเองในฐานะนายกสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไทยไข่ไก่ รวมทั้งสมาคมพันธมิตรอีก 3 สมาคมคือ คือสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้เลี้ยงไข่ไก่ภาคใต้ และสมาคมผู้เลี้ยงไก่ จ. สุพรรณบุรี ซึ่งมีสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศคิดเป็น 90% ของผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดในประเทศยืนยันตรงกันว่าไม่มีการโก่งราคาขายไข่จากหน้าฟาร์มแต่ละฟาร์มยังขายไข่ไก่ในราคาประมาณ 2.80 บาทต่อฟอง
ที่มีข่าวออกมาว่าไข่ไก่จะขาดแคลน มีการกักตุนเพื่อโก่งราคาขาย และรอการส่งออกนั้นตนเองในฐานะนายกสมาคมและเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ไทยมายาวนานขอยืนยันว่าสิ่งที่พูดเลี้ยงไก่ไข่กลัวที่สุดคือการมีสต๊อกไข่เนื่องจากมีต้นทุนสูงใครเก็บได้ไม่นานก็ต้องระบายออกจึงไม่คุ้มที่จะเก็บไข่ไว้เพื่อทำกำไรในภายหลังเพราะมีแต่จะขาดทุน ดังนั้นข่าวที่ออกมาบอกว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ใครตุนไข่ไว้เพื่อขายในราคาที่สูงในภายหลังจึงไม่เป็นความจริง
ส่วนที่มีผู้ร้องเรียนมาว่าใครไก่ปรับราคาแพงขึ้นจากปกตินั้นน่าจะเกิดจากการโก่งราคาของร้านค้าที่ช่วยโอกาสเอาเปรียบประชาชนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด -19 ด้วยการอ้างว่ารับใครมาจากผู้เลี้ยงแพงซึ่งยืนยันว่าไม่เป็นความจริงและประชาชนหากพบการเอาเปรียบหรือตั้งราคาขายสูงเกินจริงก็ควรจะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบดำเนินคดีตามกฏหมายไม่ควรสมยอมซื้อขายกับคนที่เอาเปรียบ ซึ่งในส่วนของเกษตรกรเองนั้นกรมการค้าภายในโดยกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ขอความร่วมมือในการตรึงราคาขายไข่ในราคาหน้าฟาร์ม 2.80 บาทนี้ไปก่อนเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19
ส่วนการส่งออกใข่ไก่ของไทยนั้นขอชี้แจงว่าส่งออกไม่ถึง 3% ของปริมาณไข่ไก่ที่ออกมาในทั้งปีซึ่งเป็นการส่งออกตามคำสั่งซื้อปกติเพื่อรักษาสมดุลปริมาณไข่ไก่ไม่ให้ล้นตลาดในเมืองไทยเท่านั้น ไม่ได้เป็นการส่งออกเพื่อทำกำไรอย่างที่บางคนเข้าใจ