วันที่ 31 พ.ค. 63 เวลา 21.00น. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากทม. ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่ชั่วคราว(ฉบับที่10 ) พร้อมกับโพสต์ประกาศดังกล่าวและข้อความ ลงในแฟนเพจเฟซบุ๊ก "ผู้ว่าอัศวิน" ระบุว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง กรุงเทพมหานครจึงได้มีมาตรการผ่อนปรนระยะ 3 โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป ตามรายละเอียดดังนี้
ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 และผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรม บางอย่างได้ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมบางอย่างเพิ่มเติมจากที่ได้กําหนดไว้แล้ว ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ข้อกําหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25พฤษภาคม2563 และข้อกําหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภคม 2563 ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด รวมทั้งการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ นั้น
เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนด ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับ ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ข้อกําหนด (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ พฤษภาคม 2563 ข้อกําหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 และข้อกําหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 13/2563 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 จึงให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรม บางอย่างได้ ดังต่อไปนี้
1.ปิดสถานที่
-สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
-สวนน้ำ สวนสนุก
-สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสําหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
-โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
-สถานที่เล่นเกม
-ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
- สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
-สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (ยกเว้นที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)
- สนามมวย
- โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิ้ม)
-สนามม้า
-สถานประกอบกิจการอาบน้ำ
-สถานประกอบกิจการอาบอบนวด
- สนามแข่งขันทุกประเภท
-สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะ ทํานองเดียวกัน
-สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน
2.สถานที่ที่ได้รับการผ่อนคลายแต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของทางราชการ
-ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ แต่ยังคงห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในสถานที่ดังกล่าว
-ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดําเนินการได้จนถึง ๒๑.00 นาฬิกา
-ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ
-ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม
-ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ํา และตลาดนัด ๒.๖ ร้านค้าปลีก ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่
-ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสําหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดําเนินการโดยจํากัด เวลาการให้บริการในร้านไม่เกินรายละสองชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
-สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง
-สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
-คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร้านทําเล็บ
-สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
- สนามกีฬา
-สวนสาธารณะ ลาน
- พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกําลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา
-สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ํา ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
-สถานที่ออกกําลังกายฟิตเนส
-สถานที่หรือสนามออกกําลังกายในร่ม
-สระว่ายน้ําสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม
-สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์
-สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
- สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย
-สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน ๒.๒๓ สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ
-สระน้ำ
-สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ําในบึง ๒.๒๔ โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ ๒.๒๕ สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์
-อาคารสถานที่ของโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา
3.สถานที่ได้รับผ่อนคลายตามข้อ 2 สามารถเปิดดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ ตามมาตรการผ่อนคลายให้ดําเนินการหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม2563 ข้อ 1 ข้อกําหนด (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ข้อ 3 และข้อกําหนด (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ข้อ 2 และข้อ 3
4. มาตรการป้องกันโรค
4.1 สถานที่ได้รับการผ่อนคลาย ตามข้อ 2 ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค
- คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 4/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16พฤษภาคม 2563 และคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) ที่ 4/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
- มาตรการป้องกันโรคตามที่กรุงเทพมหานครกําหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม ๒๕๖๓ (ยกเว้น ข้อ ๑ ก. ในส่วนการจัดระบบการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บคคล) ไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร หรือ กรณีมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) น้อยกว่า ๓.๕ เมตร ต้องจัดให้มีฉากกั้นระหว่างที่นั่ง (บุคคล) แต่ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างที่นั่ง (บุคคล) ต้องไม่น้อยกว่า ๑ เมตร) มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการ กําหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่ เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกําหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
4.2 สถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตามที่ทางราชการกําหนด และข้อ ๑๑ ของข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2545 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 4 จะถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว