นายสุเทพ คงมาก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รับทราบข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ ว่าในวันพรุ่งนี้ (28 ต.ค.2563) ไม่มีบรรจุวาระโครงการประกันรายได้ข้าว ผมเข้าใจการเมืองคงจะวุ่นวาย อย่าเอาเรื่องข้าวและชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งทาง ข้าราชการ-เจ้าหน้า ได้โทรศัพท์มาถามผมว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แล ะตอนนี้ข้าวเปลือก กข15 ความชื้นไม่เกิน15% ราคา 12,500-13,000 บาท/ตัน ขณะที่ชาวนาขายเกี่ยวสด ราคาอยู่ 10,500 บาท ยังถือว่าเป็นราคาที่ดี ชาวนารับได้ แต่ในสัปดาห์หน้าข้าวหอมมะลิ และกข15 จะทะลักออกมาพร้อมกัน นับถอยหลังข้าวราคาตกต่ำได้เลย
ดังนั้นผมขอร้องอีกครั้งช่วยชาวนาด้วย ไม่สายเกินไปที่จะบรรจุวาระเข้า ครม. และยอมที่จะไม่เอา โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อัตราสนับสนุน ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท ถอนออก เพราะเข้าใจว่ารัฐบาลมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลประชาชนในด้านอื่นๆ ด้วยมิใช่ “ชาวนา” เพียงอาชีพเดียว แต่ว่านโยบายโครงการประกันรายได้ข้าว ต้องการให้พรรคร่วมและรัฐบาล ต้องเป็นภาระร่วมกันที่จะผลักดันนโยบายนี้ให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เรื่องเศรษฐกิจภาคเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าวและยางพารา ต้องให้เข้าใจความสำคัญของเกษตรกรและความสำคัญของการพัฒนาประเทศ อยากให้คิดว่าเป็นเรื่องของประเทศชาติ บ้านเมือง และชาวนา เป็นสำคัญ
“ในเรื่องนโยบายประกันรายได้ เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่กระทรวงการคลัง เป็นของพรรคประชารัฐ ในเมื่อตั้งงบประมาณไว้แล้ว ก็น่าที่จะเข้า ครม.ได้แล้ว เพื่อจะให้สถานการณ์ราคาข้าวไม่ตกต่ำจนเกินไป เวลาที่จะชดเชยโครงการประกันรายได้ รัฐบาทจะไม่ต้องเสียเงิน หรือเสียเงินไปมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งตอนนี้ตลาดรับทราบแล้วเพราะโครงการล่าช้า ในฐานะที่เป็นกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ เป็นห่วงชาวนา เป็นห่วงรัฐบาลและเป็นห่วงประเทศ อยากให้เกิดความปรองดองในรัฐบาลเองให้ตัดสินใจเข้าครม. วันนี้ผมขอร้อง ให้เป็นมติครม. ให้เริ่มเดินหน้าโครงการประกันรายได้ทันที เพื่อให้เกิดภาพนโยบายของรัฐบาล”
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานงานสัมมนาเดินหน้าประกันรายได้ปี 2 โดยเชิญตัวแทนเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 3,000 คน ร่วมรับฟัง ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการประกันรายได้ปีการผลิต 2563/64 ว่ายังคงพืชเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง พร้อมมาตรการช่วยเหลือคู่ขนาน ซึ่งจะครอบคลุมเกษตรกร 7.67 ล้านครัวเรือน ภายใต้วงเงินรวม 75,017.66 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินชดเชยส่วนต่างพืชเกษตรทั้ง 5 ชนิด 71,844.05 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าบริหารจัดการพืชดังกล่าว และล่าสุด (20 ต.ค.) นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับปากว่าจะเข้า ครม.ในวันที่ 27 ต.ค.นี้ แต่ติดประชุมประชุมรัฐสภาฯ "หาทางออกประเทศ" จำเป็นต้องเลื่อนออกไปเป็นวันพรุ่งนี้ (28 ต.ค.63) "ฐานเศรษฐกิจ" จะเกาะติดผลการประชุม ครม. มานำเสนอต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง