เราเป็นธุรกิจครอบครัว แบบไหน (จบ) 

14 มี.ค. 2564 | 05:35 น.
อัปเดตล่าสุด :14 มี.ค. 2564 | 12:10 น.

โดยรูปแบบนี้สามารถทำให้เงินทุนของครอบครัวเชื่อมโยงกับธุรกิจได้ แต่เจ้าของอาจมีส่วนร่วมแตกต่างกัน การสร้างผลประโยชน์ที่สอดคล้องกันและการกำหนดบรรทัดฐานในการตัดสินใจ ความไม่พอใจพวก free riders หรือพวกกินแรงผู้อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้หากบางคนทุ่มเทดำเนินธุรกิจ

ในขณะที่บางคนเป็นเพียงนักลงทุนเท่านั้น ปัญหาใหญ่อาจเกิดขึ้นหากสมาชิกในครอบครัวบางคนต้องการถอนตัวออกไป ดังนั้นหากมีการกำหนดแนวทางการออกจากธุรกิจไว้อย่างชัดเจนจะช่วยลดความเสี่ยงได้

ความเป็นเจ้าของแบบกระจุกตัว (Concentrated ownership) มีลักษณะที่สมาชิกในครอบครัวคนใดก็อาจเป็นเจ้าของได้ แต่ส่วนน้อยจะมีอำนาจในการตัดสินใจ รูปแบบนี้ใช้ได้ผลดีเมื่อจำเป็นต้องมีการดำเนินการขั้นเด็ดขาดแม้จะมีเจ้าของหลายคนและช่วยลดความท้าทายบางประการเช่นในการเป็นเจ้าของแบบกระจายตัว

บิสิเนส แบ็คสเตจ

แต่คำถามที่ว่าใครจะควบคุมกิจการจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับคนรุ่นต่อไปแต่ละรุ่น ตัวอย่างเช่น บริษัท Vitamix ผู้ผลิตเครื่องปั่นประสิทธิภาพสูงอายุกว่า 100 ปี หุ้นจะถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลาน และในแต่ละรุ่นซีอีโอต้องเป็นเจ้าของหรือควบคุมหุ้นเสียงข้างมาก

เพราะเจ้าของจะตั้งเป้าหมายใช้ฉันทามติในการตัดสินใจครั้งสำคัญ แต่ซีอีโอก็จะต้องเป็นผู้ทำการตัดสินใจครั้งสุดท้ายอยู่ดี รูปแบบนี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งว่าใครจะเป็นผู้นำ และมีความเป็นไปได้ที่บางคนอาจสูญเสียผลประโยชน์และขายหุ้นของตนออกไป
 

อย่างไรก็ตามแม้จะมีธุรกิจที่มีรูปแบบผสมอยู่บ้าง แต่ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ก็มักอยู่ใน 1 ใน 4 ประเภทดังกล่าว มีผลสำรวจธุรกิจครอบครัวหลายขนาดและหลายอุตสาหกรรม พบว่า 36% มีรูปแบบความเป็นเจ้าของแบบกระจายตัว 27% มีรูปแบบความเป็นเจ้าของแบบกระจุกตัว

ขณะที่ 24% มีรูปแบบเจ้าของคนเดียว และ 13% รูปแบบเจ้าของแบบหุ้นส่วน ประเภทของความเป็นเจ้าของไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดิมตลอดไป อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีคนรุ่นต่อไปเข้าร่วมในธุรกิจ หรือเมื่อขนาดหรือความซับซ้อนของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปหรือเมื่อมีการนำผู้นำจากภายนอกเข้ามา เป็นต้น 

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,661 วันที่ 14 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :