ราชกิจจาฯ ออกประกาศ “พ.ร.ก.ซอฟต์โลน-พักทรัพย์ พักหนี้" 3.5 แสนล้านบาท ต่อลมหายใจธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไฟเขียวปล่อยกู้ธุรกิจดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 5% ซื้อทรัพย์คืนใน 5 ปี
วันที่ 10 เมษายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 วงเงินไม่เกิน 3.5 แสนล้านบาท
โดยระบุว่าเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ส่งผลให้ความเสี่ยง ด้านเครดิตในระบบการเงินของประเทศปรับสูงขึ้นมาก
ผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว และต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ จึงจำเป็นต้องมีมาตร การทางการเงินเพื่อสร้างสภาพคล่องเพิ่มเติม แก่ผู้ประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับวัฏจักรการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลก
รวมถึงมีมาตรการลดภาระหนี้ ของผู้ประกอบธุรกิจ(พักทรัพย์ พักหนี้) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนทรัพย์สินชำระหนี้แก่สถาบันการเงินโดยมีเงื่อนไข ซื้อคืนในราคาที่โอนไปและมีสิทธิเช่าทรัพย์สินนั้นกลับไปใช้ประกอบธุรกิจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะ ขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชาระหนี้
อันจะส่งผลต่อฐานะทางการเงินของสถาบันการเงิน และต่อเสถียรภาพ ทางการเงินและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง
ทั้งนี้พ.ร.ก.ฉบับนี้สาระสำคัญประกอบด้วย 2 มาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ได้แก่
1.มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะให้สถาบันการเงินกู้ยืมเงินอัตราดอกเบี้ย 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ยืมตามที่กำหนดในวงเงินไม่เกิน 2.5 แสนล้านบาท
โดยสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ย(ซอฟต์โลน)ผู้ประกอบการธุรกิจโดยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญาต้องไม่เกิน 5% ต่อปี โดยในช่วงระยะเวลาสองปีแรกของสัญญาให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ ไม่เกิน 2% ต่อปี และไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบธุรกิจในระหว่าง 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่อ
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบปัญหาหรือได้รับ ผลกระทบจากโควิด-19 ได้อย่างกว้างขวางและท่ัวถึง ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาห กรรมขนาดย่อม
มีวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจในการค้ำประกันสินเชื่อ ที่สถาบันการเงินให้ผู้ประกอบการกู้ยืม โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม จะรับภาระไม่เกิน 40% ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งให้แก่ผู้ประะกอบการธุรกิจ
2.มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้) โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอานาจให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเพื่อใช้ ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ภายในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้สถาบันการเงินที่จะขอกู้ยืมเงินจาก ธปท.ตามหมวดนี้ ต้องเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับโอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. ประกาศกำหนด
โดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 และมีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นของผู้ประกอบธุรกิจเองหรือของบุคคลอื่น เป็นหลักประกันการชำระหนี้
ทั้งนี้ในการรับโอนทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไขว่าผู้ประกอบธุรกิจ หรือเจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิซื้อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคืนได้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่โอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หรือภายในระยะเวลาที่ยาวกว่าน้ันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
ส่วนราคาทรัพย์สินที่สถาบันการเงินจะขายคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สิน ต้องไม่สูงกว่าราคาที่รับโอนไว้รวมกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด หักด้วยค่าเช่า ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจมีการเช่าทรัพย์สินไปเพื่อดำเนินธุรกิจ
(อ่านประกาศ “พ.ร.ก.ซอฟต์โลน-พักทรัพย์ พักหนี้" 3.5 แสนล้านบาท ฉบับเต็ม)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :