ปีทอง “ทุเรียน” โกย ทะลุแล้ว 2 หมื่นล้าน

30 เม.ย. 2564 | 04:54 น.
อัปเดตล่าสุด :30 เม.ย. 2564 | 11:58 น.

“มนัญญา” สั่งกรมวิชาการเกษตร เสริมคน-เพิ่มเวลา ดันส่งออก “ทุเรียน” ไทย ไม่ถึง 4 เดือน ออร์เดอร์ทะลัก ทะลุ 2 หมื่นล้านบาท ชาวสวนเฮต่อเนื่อง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  ตลาดจีนถือเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทยโดยอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยมากกว่าถึง 22 ชนิด  สร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท / ปี  ดังนั้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรักษาตลาดไว้ได้  โดยไทยและจีนมีข้อตกลงเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ที่ต้องปฏิบัติร่วมกันคือผลผลิตจะต้องมาจากสวนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP  และคัดบรรจุในโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP  โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งข้อมูลทะเบียนสวนทุเรียนที่ได้รับการรับรองทั้งหมดส่งให้จีนประกาศในเว็บไซต์ของจีนแล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น  38,767 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวน 30,076 ราย ส่วนโรงงานคัดบรรจุ GMP ที่ได้แลกเปลี่ยนทะเบียนและประกาศรายชื่อในเว็บไซต์ของจีนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 1,587 โรงงาน    ทั้งนี้ที่ผ่านมาจีนได้เปิดด่านอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้จำนวน 3 ด่านคือ ด่านโม่หัน  ด่าน โหย่วอี้กวน และด่านรถไฟผิงเสียง  แต่ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งข่าวดีว่าสำนักงานศุลกากรของจีน (GACC) ได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดของไทยที่ด่านตงซิงได้แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน  2564 เป็นต้นไป    นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า เป็นข่าวดีที่ไทยได้รอคอยมาเป็นระยะเวลา 1 ปี  ภายหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในการเจรจา "ร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน กับสำนักงานศุลกากรของจีนเมื่อเดือนเมษายน 2563 นำไปสู่การปลดล็อคเส้นทางการขนส่งผลไม้ไปจีนและไทยได้ด่านนำเข้าและส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน โดยเฉพาะในฤดูกาลส่งออกทุเรียนในขณะนี้

 

นายพิเชษฐ์  วิริยะพาหะ  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่าในปี 2564 นี้นับเป็นปีทองของการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนเนื่องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันผลักดันให้มีการส่งออกผลผลิตที่มีคุณภาพให้เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าของจีนอย่างเข้มข้นมากขึ้น   ซึ่งการดำเนินงานในส่วนที่เป็นภารกิจของกรมวิชาการเกษตรได้รับนโยบายจากนางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศเพื่อปฏิบัติงานตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกกว่า 40 คน และเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานพื้นที่ภาคตะวันออกของกรมวิชาการเกษตรทั้งหมดให้ร่วมกันปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวมากขึ้น

 

ทั้งการตรวจสอบความแก่-อ่อนของทุเรียนควบคู่ไปกับการตรวจสอบศัตรูพืชและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ของโรงคัดบรรจุ   ตลอดจนตรวจสอบการใช้ใบรับรอง GAP ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการสวมสิทธิ์  รวมทั้งได้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานตรวจปิดตู้ทุเรียนจากเดิม 19.00 น.เป็น 23.00 น.ทุกวัน  ทำให้ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลผลิต จนถึงขณะนี้สามารถส่งผลผลิตทุเรียนส่งไปจีนได้ปริมาณ 12,000 ตู้ หรือประมาณ 216,000 ตัน  คิดเป็นมูลค่า 21,600 ล้านบาท(ราคาเฉลี่ย 100 บาท/กก.) 

บรรยากาศล้งรับซื้อ

 โดยผลผลิตทุเรียนจะออกมากที่สุดระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม  ซึ่งจากการที่กรมวิชาการเกษตรได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานและขยายเวลาในการปิดตู้ทำให้สามารถตรวจรับรองการส่งออกได้เพิ่มขึ้นโดยในช่วงระว่างวันที่ 20-29 เมษายน 2564 ผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกไปจีน มีจำนวนถึง  4,974 ชิปเม้นท์มากกว่าปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีการส่งออก 3,298 ชิปเม้นท์  ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75  ทั้งนี้ราคารับซื้อทุเรียนหมอนทอง ณ วันที่ 30 เม.ย.64 อยู่ที่  90-100 บาท/กก.


 

ตรวจสอบคุณภาพ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  ตลาดจีนถือเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทยโดยอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากประเทศไทยมากกว่าถึง 22 ชนิด  สร้างรายได้ให้แก่ประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท / ปี  ดังนั้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรักษาตลาดไว้ได้  โดยไทยและจีนมีข้อตกลงเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออกผลไม้ที่ต้องปฏิบัติร่วมกันคือผลผลิตจะต้องมาจากสวนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP  และคัดบรรจุในโรงงานผลิตสินค้าพืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP  โดยกรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งข้อมูลทะเบียนสวนทุเรียนที่ได้รับการรับรองทั้งหมดส่งให้จีนประกาศในเว็บไซต์ของจีนแล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น  38,767 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวน 30,076 ราย ส่วนโรงงานคัดบรรจุ GMP ที่ได้แลกเปลี่ยนทะเบียนและประกาศรายชื่อในเว็บไซต์ของจีนแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 1,587 โรงงาน

 

ทั้งนี้ที่ผ่านมาจีนได้เปิดด่านอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้จำนวน 3 ด่านคือ ด่านโม่หัน  ด่าน โหย่วอี้กวน และด่านรถไฟผิงเสียง  แต่ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งข่าวดีว่าสำนักงานศุลกากรของจีน (GACC) ได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดของไทยที่ด่านตงซิงได้แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน  2564 เป็นต้นไป

 

ทำงานเข้มข้น

 

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า เป็นข่าวดีที่ไทยได้รอคอยมาเป็นระยะเวลา 1 ปี  ภายหลังจากที่กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในการเจรจา "ร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน กับสำนักงานศุลกากรของจีนเมื่อเดือนเมษายน 2563 นำไปสู่การปลดล็อคเส้นทางการขนส่งผลไม้ไปจีนและไทยได้ด่านนำเข้าและส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ส่งออกผลไม้ไปจีนช่วยแก้ปัญหารถติดสะสมบริเวณหน้าด่านโหย่วอี้กวน โดยเฉพาะในฤดูกาลส่งออกทุเรียนในขณะนี้