FAQ “วัคซีนโรคลัมปี สกิน”

25 พ.ค. 2564 | 04:40 น.

กรมปศุสัตว์ FAQ “วัคซีนโรคลัมปี สกิน” ทุกข้อสงสัย “วัคซีนโรคลัมปี สกิน” ละเอียดยิบ เกษตรกร

Q : วัคซีน “โรคลัมปี สกิน” ที่จะนำเช้ามาใช้เป็นวัคซีนชนิดใด

A: วัคซีนที่จะนำเข้ามาใช้ควบคุมโรคในประเทศไทย เป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live qttenuated virus vaccine) และเป็น sis Neethling-type (MSD Animal Health)

 

 

Q: จะทราบได้อย่างไรว่าวัคซีนที่กรมปศุสัตว์สั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ จะตรงกับเชื้อที่ระบาดในประเทศไทย

A: กรมปศุสัตว์ ได้ตรวจวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อที่ระบาดในพื้นที่กับเชื้อที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแล้วพบว่ามีความใกล้เคียงกัน

 

Q: สัตว์กลุ่มไหนที่จะฉีดวัคซีนได้

A:ฉีดในสัตว์ที่สุขภาพแข็งแรงเท่านั้น และไม่อยู่ในฝูงที่กำลังมีสัตว์ป่วย ตัวสัตว์ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ต้องทำเครื่องหมาย โดยการตีตราเย็น “L” บริเวณไหล่ซ้ายเท่านั้น

 

Q: พื้นที่กำหนดให้ใช้วัคซีน คือที่ไหนบ้าง

A:พื้นที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง เช่น พื้นที่มีการเลี้ยงโค กระบือ หนาแน่น และเป็นพื้นที่ที่การเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกมาก

 

 

Q: การเก็บรักษาวัคซีน ต้องทำอย่างไร

A: เก็บรักษาวัคซีนที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล เพราะเป็นเชื้อเป็นฤทธิ์อ่อน หากดูแลไม่ดี อาจทำให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพหรืออาจจะไม่สามารถกระตุ้นให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีพอตามที่ต้องการ

 

Q:  ภายหลังจากการฉีดวัคซีน สัตว์จะใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันกี่วัน จึงจะป้องกันโรคได้

A: ประมาณ 3 สัปดาห์ ดังนั้นในช่วงสัตว์ยังไม่มีภูมิคุ้ม จึงจำเป็นต้องป้องกันสัตว์ติดเชื้อโดยใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การกางมุ้ง,ใช้ยาไล่แมลง,ยาฆ่าแมลง

 

 

Q: ฟาร์มที่กำลังเกิดโรค จะได้ฉีดวัคซีนหรือไม่

A: ไม่ควรฉีด เนื่องจากหากสัตว์ติดเชื้อแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยภายหลังจากฉีดได้ นอกจากนี้หากมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อจากวัคซีนกับเชื้อในพื้นที่อาจจะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสได้

 

Q: สัตว์ที่หายป่วยแล้ว จะต้องฉีดวัคซีนหรือไม่

A: ยังไม่จำเป็นต้องฉีดเนื่องจากสัตว์ที่หายป่วยแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคที่ป้องกันโรคได้ เป็นระยะเวลานานกว่า 150 วัน (5 เดือน)

 

Q: ฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 แล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกบ่อยแค่ไหน

A:ตามเอกสารแนะนำของวัคซีน ให้ฉีดปีละ 1 ครั้ง แต่จะประเมินตามสถานการณ์การระบาดของโรคในพื้นที่อีกครั้ง

 

Q: หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ต้องมีวิธีการหลักปฏิบัติอย่างไร

A: งดนำสัตว์เข้าโรงงานเพื่อนำไปบริโภคเป็นระยะเวลา 21 วัน งดเคลื่อนย้ายออกจากฟาร์มเป็นระยะเวลา 1 เดือน ป้องกันและลดแมลงพาหะ (แมลงดูดเลือด) ในฟาร์ม โดยการกางมุ้ง/ยาไล่แมลง/ยาฆ่าแมลงน

 

Q: หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

A: อาจทำให้มีไข้ เป็นตุ่มนูนที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองบวม มีน้ำมูก น้ำตาไหล ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีน อาจทำให้น้ำนมลดได้

 

Q: ประเทศไทย มีนโยบายที่จะผลิตวัคซีนเองหรือไม่

A: กรมปศุสัตว์ได้มีการนำเขื้อไวรัส ที่มีการระบาดในประเทศไทยสำหรับใช้ในการผลิตวัคซีน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางวัคซีน

 

อ้างอิงเอกสาร (FAQ วัคซีนควบคุมโรค ลัมปี สกิน