นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเปิดเผยว่าขณะนี้เศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านและทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนที่จะทำให้การเปิดเมืองและการกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีได้มากขึ้น ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งผลักดันยอดการค้าชายแดน ซึ่งเป็น 1 ใน 14 แผนงานโดย ให้เน้นการทำงานเชิงรุกนั้น ประสบความสำเร็จ โดยตัวเลขการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ในเดือนพฤษภาคม มีมูลค่า150,858 ล้านบาท หรือ38%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดทั้งปีขยายตัวตามเป้า1.4ล้านล้านบาท
โดย การค้าชายแดนมีมูลค่า 75,659 ล้านบาทขยายตัว4.13% และการค้าผ่านแดนมีมูลค่า 75,199 ล้านบาท ขยายตัว 7.45% สำ ส่งผลให้5เดือน(มกราคม-พฤษภาคม) การค้าชายแดนกับการค้าผ่านแดนมีมูลค่า 677,078 ล้านบาท ขยายตัว 29.15% แบ่งเป็นการค้าชายแดนอย่างเดียว มูลค่า 371,040 ล้านบาท ขยายตัว 19.85% การค้าผ่านแดน 5 เดือนมูลค่า 306,038 ล้านบาท ขยายตัว 42.57%
สำหรับการค้าชายแดนแยกแต่ละประเทศ พบว่า มาเลเซีย ยังเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ1 โดยมีมูลค่า 134,474 ล้านบาท ขยายตัว 53.00% ,ลาว 87,369 ล้านบาท ขยายตัว13.30% ,เมียนมา 78,833 ล้านบาท ขยายตัว 6.9% และกัมพูชา 70,364 ล้านบาท ขยายตัวติดลบ 0.68% ส่วนการค้าผ่านแดนพบว่าจีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าสูงสุด โดยมีมูลค่า 140,406 ล้านบาท ขยายตัว 54.85% ,สิงคโปร์ 46,478 ล้านบาท ขยายตัว 28.74% และเวียดนาม 28,586 ล้านบาท ขยายตัว 15.73%
ทั้งนี้การที่การค้าชายแดนและผ่านแดนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบกรอ.พาณิชย์โดยเฉพาะการเร่งรัดการเปิดด่านจาก 97 ด่านที่ปิด สามารถกลับมาเปิดด่านได้ถึง 46 ด่าน นอกจากนี้ เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเองเริ่มฟื้นตัว
“ในวันที่ 1 กรกฎาคมเดือน กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญทูตลาวประจำประเทศไทยข้ามาหารือเพื่อหาทางร่วมกันในการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทย-ลาวและการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-ลาวและในวันที่9-11 กรกฎาคม มีแผนจะเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ เพื่อไปเร่งรัดการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เร่งรัดการเปิดด่านปากแซง นาตาล และแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นที่ด่านช่องเม็กรวมทั้งจะเร่งจับมือกับภาคเอกชนในนาม กรอ.พาณิชย์ขจัดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเชิงรุกโดยเร็ว และกิจกรรมที่จะช่วยเหลือผู้ส่งออกรายย่อยโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีหรือไมโครเอสเอ็มอีเอส ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือแหล่งเงินกู้ที่จำเป็นต่อสถานการณ์ปัจจุบันโดยจะจัดโครงการ จับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับเอสเอ็มอีส่งออกซึ่งในวันที่ 7 กรกฎาคมจะมีการแจงรายละเอียดอีกครั้ง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง