เปิดประวัติ ผอ. อสมท คนใหม่ “เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์” กับ 2 ภารกิจร้อน

21 ก.ค. 2564 | 12:08 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ค. 2564 | 19:15 น.

เปิดประวัติ “รศ. เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์” จากนักวิชาการสู่ ผอ.อสมท กับภารกิจเผือกร้อน พลิกขาดทุนเป็นกำไร-ข้อพิพากเรื่องเงินชดเชยจากการคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์

หลังจากคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ.อสมท) ได้ทำหนังสือแจ้งต่อกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ด้วยคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ.อสมท) ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 วันที่ 20 กรกฎาคม 2564

 

มีมติเห็นชอบให้ รองศาสตราจารย์ เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท ซึ่งกระบวนการสรรหาต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

สำหรับรองศาสตราจารย์ พ.ต.ท.ดร.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 44

 

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ดังนี้

 

• รองศาสตราจารย์ (สาขารัฐประศาสนศาสตร์) ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า

 

• ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

 

• กรรมการการศึกษาทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

 

• กรรมการสภาวิชาการ / คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

 

• อนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา (อ.ก.ร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ (อุทธรณ์และร้องทุกข์) รัฐสภา

รศ. เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์

ประสบการณ์การทำงาน

 

• รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (พ.ศ.2559-2561)

 

• รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (พ.ศ.2556-2559)

 

• กรรมการสภา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2559-2561)

 

• เลขานุการ สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2556-2559)

 

• กรรมการวิจัยและพัฒนาระบบงาน ศาลยุติธรรม (พ.ศ.2562)

 

• คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลงานวิจัยของกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ.2563)

 

• ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) (2558-2559)

 

• อนุกรรมาธิการด้านการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) (พ.ศ.2557-2562)

 

• อนุกรรมการด้านวิชาการ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (พ.ศ.2561)

 

• อนุกรรมการปฏิรูปตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2561)

 

• อนุกรรมการปฏิรูปกิจการตำรวจ ในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) (พ.ศ.2559-2560)

 

• อนุกรรมการกำหนดกรอบการวิจัย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (พ.ศ.2560)

 

• อนุกรรมาธิการ และ เลขานุการ การพิจารณาศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) (พ.ศ.2559-2560)

 

• อนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ในกรรมการประสานงาน ระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) (พ.ศ.2558-2560)

 

• ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการตำรวจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

 

• ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากิจการตำรวจ วุฒิสภา (พ.ศ.2554-2555)

 

 – คณะทำงานพัฒนาระบบงบประมาณตำรวจ คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการตำรวจ (สปท.)

 

• อนุกรรมการข้าราชการตำรวจ (อนุ ก.ตร.) ด้านการบริหารงานบุคคล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ.2553-2554)

 

• ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดและร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ.2562)

 

• อนุกรรมาธิการ ด้านการบริหารจัดการและงบประมาณ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามการแก้ปัญหายาเสพติด วุฒิสภา (พ.ศ.2554-2555)

 

• อนุกรรมาธิการ จัดทำรายงานผลการศึกษาปัญหายาเสพติด วุฒิสภา (พ.ศ.2554-2555)

 

• ที่ปรึกษา สำนักงานศูนย์อำนวยการร่วม ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (พ.ศ.2554)

 

• คณะอนุกรรมการศึกษาและวิจัยมาตรการป้องกัน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษ และการนำนโยบายไปปฏิบัติ จนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) (พ.ศ.2551)

 

• ที่ปรึกษาคณะทำงานจัดทำนโยบายการบริหารราชการและแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ.2557)

 

• ที่ปรึกษาหลักสูตรนักบริหารยุติธรรมชั้นสูงและกลาง สำนักงานกิจการยุติธรรม (พ.ศ.2552-53)

 

• ที่ปรึกษาหลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระดับสูง 2563

 

• ผู้อำนวยการหลักสูตรนักบริหารเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลง สำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ.2562

 

• รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า (พ.ศ.2553-2555)

 

• รองคณบดีฝ่ายวางแผน คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า (พ.ศ.2552-2553)

 

• ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นิด้า จังหวัดอุดรธานี (พ.ศ.2555-2556)

 

• ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นิด้า (ภาคปกติ) (พ.ศ.2553-2555)

 

• ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นิด้า จังหวัดสงขลา (พ.ศ.2551-2552)

 

การเข้ารับตำแหน่ง “ผู้อำนวยการใหญ่  อสมท”  หลังจากที่ว่างเว้นมานาน ถือเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในปี 2563 จนถึงปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทุกอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจจึงต้องควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่ออย่างมาก

 

ซึ่งแม้บมจ.อสมทได้ปรับแผนธุรกิจให้สอดรับกับสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ในภาวะที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง แต่ผลประกอบการโดยรวมในปี 2563 ซึ่งมีรายได้รวม 1,511   ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 3,582 ล้านบาท ขาดทุน 2,020 ล้านบาท

 

ขณะที่โครงการร่วมใจจากองค์กร (Mutual Separation Plan : MSP) เพื่อปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายบุคลากรในอนาคตในช่วงที่ผ่านมาช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านบุคคลากรในปี 2564 ได้กว่า 200 ล้านบาท

 

ภารกิจการพลิกให้อสมท กลับมามีกำไรเพิ่มขึ้นจากธุรกิจสื่อและอื่นๆ ทั้งการพัฒนาที่ดินจำนวน 3 แปลง ที่กำลังดำเนินการพิจารณาออกข้อกำหนดเพื่อสรรหาคัดเลือกผู้ลงทุนและเสนอผลประโยชน์ตอบแทน ทั้งโครงการบนที่ดินย่านรัชดา-พระราม 9 และอื่นๆ

 

รวมถึงข้อพิพากเรื่องเงินชดเชยจากการคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ 2 คดี ทั้งคดีอสมท. ฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่14 ก.ย.2563 เนื่องจากเห็นว่าการชดใช้หรือจ่ายค่าตอบแทนในการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ให้แก่ อสมท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

และ 2.บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ฟ้องศาลปกครอง ให้สำนักงานกสทช. ,คณะกรรมการกสทช และ อสมท ร่วมกันชดใช้ 17,543 ล้านบาท ต่อกรณีผลการพิจารณาการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขการทดแทน ชดใช้ หรือ จ่ายค่าตอบแทน ให้แก่ บมจ. อสมท และบจก.เพลย์เวิร์ค

 

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. มีมติ ทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2500 – 2690 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท อสมท จำกัด ตามระยะเวลาการถือครองคลื่น 6 ปี 5 เดือน เป็นเงิน 3,235 ล้านบาท