วันนี้ (5 เมษายน 2565) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท.ร่วมประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565” แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีส่งมอบความสุขรับปีใหม่ไทยด้วยวิถีปกติใหม่ หรือ New Normal เพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่าตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565มีมติให้สามารถจัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์และสามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข COVID Free Setting อย่างเคร่งครัด โดยเน้นย้ำการปฏิบัติตามประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของเทศกาลสงกรานต์แต่ละภูมิภาค เช่น รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยที่สื่อถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี ในการนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
โดย ททท. เตรียมจัดงานเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565” เพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีฉลองการขึ้นปีใหม่ของไทย ช่วงระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี โดยคนไทยโบราณให้ความสำคัญว่า วันที่ 13 เมษายน ถือเป็นวันผู้สูงอายุ วันที่ 14 เมษายน กำหนดให้เป็นวันครอบครัว และวันที่ 15 เมษายน ถือว่าเป็นวันเถลิงศก เริ่มจุลศักราชใหม่ตามความเชื่อไทยโบราณ จึงเป็นโอกาสดีที่จะต่อยอดประชาสัมพันธ์ประเพณีไทยควบคู่กับการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึง นำไปสู่การเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวมุมมองใหม่ที่มีคุณค่า แตกต่าง และน่าประทับใจ ในปีท่องเที่ยวไทย 2565 หรือ Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ตลอดจนสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการความปลอดภัยของสถานประกอบการตามมาตรฐาน SHA
นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท. เดินหน้าพลิกโฉมปีท่องเที่ยวไทย 2565 ด้วย Soft Power คือ 5F : 4M คือ Food Film Fashion Festival Fight Music Museum Master และ Meta ซึ่งการจัดเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือ Festival นั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสร้างสีสันให้แก่การเดินทางภายในพื้นที่ ทั้งนี้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ททท.ได้พิจารณาปรับแผนการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุข
โดยเน้นนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านคุณค่าของวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและการแสดงดนตรี อาทิ โขน และดนตรี ร่วมสมัย พร้อมจัดสรรโซนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและอาหารท้องถิ่นที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ หรือ New Normal เพื่อให้เป็นการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ควบคู่กับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและส่งมอบความสุขรับปีใหม่ไทยให้แก่ประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง
สำหรับ “เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565” พื้นที่ที่ ททท. ดำเนินงาน ประกอบด้วย 2 งานหลัก ได้แก่ งานเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565 และ งาน Songkran Music Heritage Festival 2022 ซึ่งแต่ละพื้นที่
มีเอกลักษณ์และกิจกรรมที่แตกต่างกันไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.งานเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2565 ณ พระอารามหลวง 10 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่
ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีสงกรานต์ ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์วิถีใหม่ แต่งไทยเที่ยววัด” เนรมิตบรรยากาศปีใหม่ไทย เติมความสุขประทับใจ ผ่านกิจกรรมการสรงน้ำพระขอพร เสริมสิริมงคล ถ่ายภาพกับแลนด์มาร์ก พร้อมร่วมสนุกวิถีไทยกับ AR สงกรานต์กับน้องสุขใจ และเล่นเกม E-Stamp รับของที่ระลึกจาก ททท.
กิจกรรมไฮไลท์ : วันที่ 13-15 เมษายน 2565 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดสระเกศ
ราชวรมหาวิหาร ชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า อาทิ การแสดงโขน ตำนานนางสงกรานต์ การแสดงลำตัดแม่ขวัญจิตร ศรีประจันต์ การแสดงชุดเภรีก้องหล้า เบิกฟ้า มหาสงกรานต์ การแสดงหุ่นละครเล็ก ระบำเทพบันเทิง การแสดงโขนสมมติอยุธยา และการละเล่นไทย รวมถึงการสาธิต DIY งานหัตกรรมไทย
2. งาน Songkran Music Heritage Festival 2022
จัดขึ้นในวันที่ 12-21 เมษายน 2565 ใน 2 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณเมืองเก่า จังหวัดสงขลา และวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พาสัมผัสวัฒนธรรมผสานการแสดงดนตรี ภายใต้แนวคิด “Songkran Music Heritage 2022” สะท้อนอัตลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาไทย ร่วมกับนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่มรดกโลกอันทรงคุณค่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และส่งต่อไปยังจังหวัดสงขลาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนมรดกโลกต่อไป
กิจกรรมไฮไลท์ : จังหวัดสงขลา ล่องใต้สืบสานประเพณีไทยด้วยการแต่งกายผ้าประจำถิ่นเข้าร่วมงาน สวมผ้าปาเต๊ะ ผ้าบาติก ทำกิจกรรมสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย ร่วมกิจกรรมสาธิตอาหารท้องถิ่น อาทิ ยำสายเกาะยอ ข้าวยำปักษ์ใต้ ขนมไข่เตาถ่าน เต้าคั่ว พร้อมชมการแสดงพื้นบ้าน อาทิ โนรา และการแสดงดนตรีศิลปินชื่อดัง ก่อนชื่นชมบรรยากาศการประดับตกแต่งเพดานถนนจากกรงนกหัวจุก ว่าวธงสามเหลี่ยม และโคมไฟจีนประดับเฉดสีตามลูกปัดโนรา สะท้อนกลิ่นอายเมืองเก่าสงขลา
พร้อมแวะเช็กอินถ่ายภาพแลนด์มาร์กจากผ้าทอเกาะยอ และเดินเที่ยวด้วย Mapping Story เล่าเรื่องเมืองสงขลาไปกับตัวการ์ตูนน้องนางเงือกมิลา ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการออกร้านขายอาหารและสินค้าประจำถิ่นของจังหวัดสงขลาให้ได้เลือกซื้อและอุดหนุนกันด้วย
กิจกรรมไฮไลท์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าขานเรื่องราวแห่งเมืองมรดกโลก รณรงค์แต่งชุดไทยเข้าร่วมทำกิจกรรมสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย ชมสาธิตงานหัตถกรรม สานปลาตะเพียน เพลิดเพลินกับการแสดงพื้นบ้าน อาทิ โขน ลิเก และการแสดงดนตรีศิลปินชื่อดังของประเทศไทย ไม่เพียงเท่านั้น ยังขอเชิญชวนออเจ้ามาถ่ายภาพและร่วมจัดทำ Visual idea Decoration
โดยนำช้างและปลาตะเพียนสาน สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ มาตกแต่งบริเวณกำแพงอุโมงค์ และออกสำรวจเรื่องราวเมืองอยุธยาไปพร้อมกับมาสคอส น้องชื่นใจและปลาตะเพียน ก่อนชิม ช้อป อาหารประจำถิ่นและสินค้าเด่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเต็มอิ่ม
นอกจากนี้ ททท. ยังได้สนับสนุนการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ปี 2565 ในพื้นที่เอกลักษณ์ทั่วประเทศ อาทิ
ขณะเดียวกัน หลายพื้นที่ทั่วประเทศมีการจัดกิจกรรมรับปีใหม่ไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ อาทิ
อันเป็นการจัดงานเพื่อนำพานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาร่วมสัมผัสบรรยากาศและสืบสานประเพณีไทย พร้อมส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ Local Experience ที่จะช่วยเติมเต็มคุณค่าเหนือราคา ตอกย้ำภาพลักษณ์วัฒนธรรมไทยให้อยู่ในใจ (Top of Mind) ของนักท่องเที่ยว และต่อยอดสู่การเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอย่างยั่งยืน (Preferred Destination) ต่อไป