22ปีเนชั่นทีวี "ฉาย บุนนาค" ย้ำอุดมการณ์ "สื่อคุณภาพ" เคียงข้างประชาชน

02 มิ.ย. 2565 | 07:25 น.
อัปเดตล่าสุด :02 มิ.ย. 2565 | 14:41 น.

ครบรอบ 22 ปีเนชั่นทีวี "ฉาย บุนนาค" ระบุ ผ่านร้อนผ่านหนาวมีประสบการณ์มากมาย ย้ำอุดมการณ์เป็นสื่อคุณภาพ เป็นสถานีข่าวเคียงข้างประชาชนและประเทศไทย 

เมื่อค่ำวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ในงานดินเนอร์ทอล์ค “Thailand big change ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร” ในโอกาสครบรอบ 22 ปีเนชั่นทีวี

22ปีเนชั่นทีวี \"ฉาย บุนนาค\" ย้ำอุดมการณ์ \"สื่อคุณภาพ\" เคียงข้างประชาชน

นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NATION GROUP ขึ้นเวทีเปิดงานพร้อมกับ ประกาศเจตนารมณ์มุ่งพากลุ่มเนชั่นร่วมขับเคลื่อนสังคมไทย ในฐานะสื่อมวลชนคุณภาพ


"22 ปีที่ผ่านมา ทุกๆ หน่วยงานได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมีประสบการณ์มากมาย เนชั่นทีวีก็เหมือนกัน ตลอด 22 ปีที่ผ่านมา เรายืนหยัดเคียงข้างสังคมไทยในฐานะสถานีข่าว แน่นอนว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา  มีปัจจัย มีปัญหาต่างๆ ให้พบเจอ แต่เราก็ปรับตัวผ่านมาได้จนถึงวันนี้ ครบ 22 ปี"

นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NATION GROUP

"สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย สำหรับช่องเนชั่นทีวี ก็คือเรื่องของอุดมการณ์การทำหน้าที่สื่อมวลชนที่มีคุณภาพ  เรามีความมุ่งที่จะผลิตข่าวสารเพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน รวมถึงประเทศชาติ คอนเซปต์งานวันนี้ Thailand next big change ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร มันเริ่มต้นจากการระดมความคิดของกองบรรณาธิการเนชั่นทีวี และมองเห็นสิ่งที่กำลังกระทบกับประเทศไทยในทุกๆ ด้าน"


ซึ่งคอนเซ็ปงานในวันนี้ เกิดจากการมองเห็นผลกระทบ กับประเทศไทยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในทุกๆด้าน ซึ่งปัญหามีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยปัจจัยภายนอกคือ วิกฤตโลกร้อน ปัญหาความขัดแย้งในมหาอำนาจ และปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ต้องฟื้นฟูร่วมกัน โดยเฉพาะหลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 

22ปีเนชั่นทีวี \"ฉาย บุนนาค\" ย้ำอุดมการณ์ \"สื่อคุณภาพ\" เคียงข้างประชาชน \

ส่วนปัญหาภายในประเทศ คือปัญหาดิจิทัล ดิสรัปชัน พัฒนาการยังสู่ประเทศทั่วโลกไม่ได้ แม้มีมูลค่าการประมูลคลื่นความถี่เป็นอันดับต้นๆ แต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยียังล้าหลัง

 

และอีกปัญหาคือ ช่องว่างระหว่างวัย ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดของคนแต่ละวัย และปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของการจัดงานวันนี้ขึ้น  โดยวันนี้ได้เชิญผู้นำทางความคิดทั้งภาคธุรกิจ และภาคการเมือง มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยไฮไลท์สำคัญมี 2 ช่วง ในช่วงแรกคือ สเปเชียลทอล์ค จากภาคธุรกิจ ที่ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนแนวคิดโลกที่จะทำให้เมืองไทยไม่เหมือนเดิม

คุณสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ประเดิมเวทีคนแรก โดยคุณสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ท่านมองว่า ปัจจุบันทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ และภายในประเทศ เป็นตัวแปรสำคัญ โดยเฉพาะปัจจัยภายใน ทั้ง การแบ่งช่วงระหว่างวัย

 

แม้จะมี หน่วยงาน บีโอไอ หรือ อีอีซี ที่จะคอยกระตุ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเติบโตมากนัก และมองว่า หน้าที่ของประเทศไทยเป็นผู้ผลิต จึงจะต้องรักษาฐานการผลิตไม่ให้เหิดการย้ายฐานการผลิตเกิดขึ้น 

22ปีเนชั่นทีวี \"ฉาย บุนนาค\" ย้ำอุดมการณ์ \"สื่อคุณภาพ\" เคียงข้างประชาชน
ดังนั้น ส่วนตัวไม่เชื่อว่า ประเทศไทยจะเดินด้วยการเติบโตแบบธรรมชาติได้เหมือนเดิมอีก  แต่สิ่งที่ต้องทำคือต้องมียุทธศาสตร์ในการเดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องเอาผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และเยียวยาคนที่เสียหาย หากทำได้ก็จะสร้างยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ทุกคนร่วมมือกันได้

 

เช่น ยุทธศาสตร์การทำให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อาหาร อุตสาหกรรมทัวลิสต์ โดยจะต้องลงทุนน้อย แต่ให้ได้ผลเยอะๆ อย่าง การนำไฟฟ้ามาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ให้มากขึ้น

 

ขณะที่ นักธุรกิจ อีกท่านที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ก็คือ คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจ มองว่า สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลง สำคัญ 3 ด้าน คือ สุขภาพ การศึกษา และการลงทุน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด

สิ่งสำคัญเริ่มต้นของการใช้เทคโนโลยี คือ การให้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล ทั้งการต้องให้ใช้ไวไฟฟรี โดยแจกไอดีให้กับประชาชนทุกคน จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสและการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

 

พร้อมทั้งมองด้วยว่า ผู้นำประเทศไทย ควรไปเป็นสมาชิกของ  World Economic Forum พบปะกับผู้นำทั่วโลก เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและนำกลับมาพัฒนาประเทศไทยร่วมกัน

22ปีเนชั่นทีวี \"ฉาย บุนนาค\" ย้ำอุดมการณ์ \"สื่อคุณภาพ\" เคียงข้างประชาชน