ส่องงบการเงิน 3 บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์ KFC ในไทย

26 ก.ค. 2565 | 03:07 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ก.ค. 2565 | 12:08 น.

จากกรณีสื่อต่างประเทศรายงานว่า บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ (RD) หนึ่งในผู้ถือแฟรนไชส์ร้านไก่ทอดเคเอฟซี มีแผนจะขายธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าวในประเทศไทย วงเงินราว 300 ล้านดอลลาร์ เรามาดูผลประกอบการของ RD และผู้ถือแฟรนไชส์ KFC อีก 2 ราย ว่าเป็นอย่างไรในปีที่ผ่านมา

เปิด งบการเงิน 3 บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์ ร้านฟาสต์ฟู้ดไก่ทอด เคเอฟซี (KFC) ในไทย ทั้งนี้ KFC เป็นแบรนด์ดังในเครือ บริษัท “Yum! Brands” จากสหรัฐอเมริกา หลังสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวระบุ กลุ่มเรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) กำลังจะขายสิทธิแฟรนไชส์ KFC ในประเทศไทยที่บริษัทถืออยู่ คิดเป็นมูลค่าวงเงินราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรายงานดังกล่าวระบุ มีผู้สนใจซื้อ 2 ราย คือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) และ เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) บริษัทในเครือไทยเบฟ ซึ่งทั้งสองบริษัทก็เป็นผู้ถือแฟรนไชส์ KFC ในไทยอยู่แล้วนั่นเอง

 

เรามาดูงบการเงินในปีที่ผ่านมาของทั้งสามบริษัทกัน 

 

สำหรับในประเทศไทย บริษัทที่เป็นผู้ถือแฟรนไชส์เปิดให้บริการร้าน KFC มี 3 ราย ได้แก่

 

  1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) กลุ่มเซ็นทรัล บริหาร 283 สาขา
  2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) บริหาร 207 สาขา
  3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) กลุ่ม ThaiBev บริหาร 336 สาขา

 

จากการสำรวจ งบการเงินของทั้ง 3 บริษัทผ่าน Creden Data พบข้อมูลน่าสนใจอย่างยิ่ง คือ

1. เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ปี 2564 มีผลกำไรจากการให้บริการ +269 ล้านบาท (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบริษัทบริหารแบรนด์ร้านอาหารสิบกว่าแบรนด์)

ส่องงบการเงิน 3 บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์ KFC ในไทย

 

2. เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด ปี 2564 มีผลขาดทุน -47 ล้านบาท (ปีก่อนๆ สามารถกำไร แต่ปี 64 ขาดทุนเป็นปีแรก หลังจากเปิดบริการมา 4 ปีกว่า ซึ่งน่าจะเป็นผลกระทบจากโควิด-19)

ส่องงบการเงิน 3 บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์ KFC ในไทย

 

3. เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ปี 2564 -232 ล้านบาท ทั้งยังมีผลขาดทุนติดต่อกัน 7 ปี ตั้งแต่เปิดบริการ

ส่องงบการเงิน 3 บริษัทผู้ถือแฟรนไชส์ KFC ในไทย

ทั้งนี้ ดูจากผลการขาดทุนติดต่อกันของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เปิดบริการ อาจเป็นข้อสมมุติฐานได้ว่า นี่อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้บริษัทตัดสินใจขายสิทธิแฟรนไชส์ที่มีใน KFC ประเทศไทยออกไป