“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566” ซึ่งได้รับการปรับลดอัตราการจัดเก็บลง ถือเป็นหนึ่งการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ไปเป็นที่เรียบร้อย ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง
โดยมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566 จะดำเนินการออกร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเร่งจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
สำหรับการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2564 และปี 2566 ตามความเหมาะสมเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติของ อปท.
การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2566 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ
กระทรวงการคลัง ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับการลดภาษีตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 ให้ลดภาษีในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ ตัวอย่างกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เคยได้รับการลดภาษี ได้แก่ โรงพยาบาล ร้านทำผม ร้านอาหาร ร้านล้างรถ และห้างสรรพสินค้า
2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการลดภาษี 50% ตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 เมื่อคำนวณลดภาษีในอัตรา 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียแล้ว ให้ลดภาษีลงอีกในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่ลดไปแล้ว 50% ตัวอย่างกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับการลดภาษี 50% ได้แก่
3.กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ได้รับการลดภาษี 90% ตามพ.ร.ฎ.ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 แล้ว จะไม่ได้รับการลดภาษีเพิ่มอีก เนื่องจากมาตรา 55 แห่งพร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จะมีอัตราการลดภาษีสูงสุดอยู่ที่ 90% ได้แก่
การสูญเสียรายได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ส่งผลให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นมีการลงทุนที่เพิ่มขึ้นรัฐบาลจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะได้เพิ่มขึ้น ทำให้ อปท. ได้รับการจัดสรรรายได้เพิ่มขึ้น และผู้เสียภาษีได้รับการบรรเทาภาระภาษีบางส่วน และมีระยะเวลาในการปรับตัว
อย่างไรก็ดี มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะส่งผลให้ อปท. จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลง ทำให้สูญเสียรายได้เพิ่มเติมอีกจำนวนประมาณ 6,288 ล้านบาท จึงเห็นควรมอบหมายให้ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ อปท. ตามความเหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติของ อปท.ต่อไป