ช้อปดีมีคืน 2566 เติมน้ำมัน เช็กใบกำกับภาษีใช้ลดหย่อนภาษีที่นี่

01 ม.ค. 2566 | 09:09 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ม.ค. 2566 | 16:21 น.

ช้อปดีมีคืน 2566 เติมน้ำมันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เช็กใบกำกับภาษีที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ที่นี่

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 ประชาชนที่เติมน้ำมันสามารถนำบิลค่าเติมน้ำมันทั้งรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในมาตรการช้อปดีมีคืน 2566 ได้

 

“ช้อปดีมีคืน” 2566 หนึ่งในมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อเป็นขวัญปีใหม่ 2566 ให้ประชาชนนำค่าซื้อสินค้าและบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาลดหย่อนภาษี

เงื่อนไข “ช้อปดีมีคืน” 2566

  • เป็นผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา
  • นำซื้อสินค้าและบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2566 มาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ระบุชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ในรูปแบบกระดาษหรือ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt แล้วแต่กรณี
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนอีกไม่เกิน 10,000 บาท ะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น

 

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน 2566

  1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  2. ค่าซื้อยาสูบ
  3. ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  4. ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
  5. ค่าบริการจัดนำเที่ยว
  6. ค่าที่พักในโรงแรม
  7. ค่าประกันวินาศภัย

 

ใบกำกับภาษีเติมน้ำมัน ใช้ลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน 2566

ใบกำกับภาษีที่ออกมาเพื่อใช้อ้างอิง บิลค่าน้ำมัน ที่สามารถนำมาประกอบการลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน 2566 ต้องเป็นใบกำกับภาษีที่เต็มรูปแบบ โดยต้องระบุข้อมูลตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นหลักฐานที่ใช้อ้างอิงไม่ได้

 

ข้อมูลที่ต้องถูกระบุไว้บนใบกำกับภาษี ต้องมีดังนี้

  • คำว่า ใบกำกับภาษี
  • ชื่อ-ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของฝ่ายผู้ขายสินค้า
  • ชื่อ-ที่อยู่ ของฝ่ายผู้ซื้อสินค้า
  • เลขที่ใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือบริการ
  • รายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องระบุตามที่กรมสรรพากรกำหนด โดยในกรณีของ บิลค่าน้ำมัน จะต้องระบุทะเบียนรถคันที่นำไปเติมน้ำมันลงไปในใบกำกับภาษีด้วย