หลังจากพยายามอยู่นานสำหรับการควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ล่าสุดประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ซึ่งดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
ที่ผ่านมาการดำเนินการดังกล่าว เกิดประเด็นข้อถกเถียงหลายฝ่าย โดยเฉพาะทางผู้ประกอบธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการควบคุมจากภาครัฐ โดยเฉพาะเรื่องของการกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปและสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้ว
สำหรับประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเพื่อคุมสัญญาธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จะบังคับใช้เฉพาะสัญญาเช่าซื้อรถ ที่ทำตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ส่วนสัญญาเช่าซื้อที่มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 10 มกราคม 2566 ยังคงมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการควบคุมสัญญาธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดดังนี้
1.การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ มี 3 ประเภท
2.การนำเงินมาชำระค่างวดครบก่อนกำหนด (ปิดบัญชี) จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ในการปิดค่างวดเป็นขั้นบันได มี 3 กรณี ดังนี้
3.กรณีนำรถออกขายทอดตลาด เมื่อผู้บริโภคถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อได้นำรถออกขายทอดตลาด ตามปกติ ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญา ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โดยกฎหมายนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น
4.การคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ กรณีผู้บริโภคชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อคิดเบี้ยปรับได้ไม่เกิน 5% ต่อปีโดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ
5.ส่วนอัตราโทษ หากผู้ประกอบการธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และจักรยานยนต์ ทำผิดสัญญาตามประกาศจะมีโทษดังนี้
คลิกอ่าน “ประกาศคุมสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ฉบับเต็ม”
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเชิงรุก เพื่อช่วยผู้บริโภคที่ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และได้รับความเดือดร้อน