ผู้ประกันตนมาตรา 33 อยากรีไฟแนนซ์บ้าน ธอส.จับมือสำนักงานประกันสังคม มอบสิทธิสินเชื่อตามวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่คงเหลือกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น โดยที่วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงเหลือต้องไม่เกินวงเงิน 2 ล้านบาท ถ้าอยากกู้ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่เข้าร่วมโครงการ
วัตถุประสงค์การขอสินเชื่อ ดังนี้
1.เพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือกรรมสิทธิ์รวมจากสถาบันการเงินอื่น
2.เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือกรรมสิทธิ์รวมในบัญชีเงินกู้ที่กู้อยู่กับธนาคาร
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์การขอสินเชื่อเดิมจะต้องเป็นไปเพื่อการซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด หรือเพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมอาคาร หรือเพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่ เท่านั้น
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสูงสุดไม่เกินร้อยละ 1.99 ต่อปี คงที่ 5 ปี
สำหรับปีที่ 6 – 8 อัตราดอกเบี้ย MRR ร้อยละ 2 ต่อปี (MRR-2%)
ตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR ร้อยละ 0.5 ต่อปี (MRR-0.5%)
ขั้นตอนการเข้าโครงการ
1.ขอรับรหัสเข้าร่วมโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนกับ ธอส. ผ่านช่องทางแอป : GHB ALL หรือ GHB ALL GEN ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 16.00 น.
2.เพิ่ม GHB Buddy เป็นเพื่อนทางไลน์เพื่อรับรหัสเข้าร่วมโครงการผ่าน GHB Buddy
3.ยื่นขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ที่ www.sso.go.th และนำหนังสือรับรองดังกล่าวมาเป็นเอกสารประกอบการยื่นกู้
4.เอกสารการยื่นขอสินเชื่อเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคาร และเตรียมเอกสารส่วนตัว ได้แก่ บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) รวมถึงหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และเอกสารส่วนตัว / เอกสารแสดงรายได้/ และเอกสารแสดงหลักประกัน (ที่อยู่อาศัย ที่จดจำนองกับธนาคาร) ให้พร้อม
5.ยื่นกู้กับ ธอส. ที่สาขาทั่วประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทั้ง 12 แห่งหรือ โทรสายด่วน 1506 หรือ G H Bank Call Center โทร 0-2645-9000 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และติดตามข่าวสารของธนาคารได้ที่ เว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ www.ghbank.co.thง
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office