แจ้งเกิดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลูกฝัง Productivity Mindset แรงงาน

29 เม.ย. 2566 | 11:39 น.
อัปเดตล่าสุด :29 เม.ย. 2566 | 12:04 น.

จุฬาฯ ผนึก สถาบันเพิ่มฯ ผลักดันหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมแนวคิ “ผลิตภาพนิยามใหม่ ฯ” และ "Productivity Mindset" ยกระดับคุณภาพบุคลากรวัยทำงาน ผ่าน CUGS Academy

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  เปิดเผยว่า ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการบริการวิชาการ การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CUGS Academy: Lifelong Learning and Interdisciplinary Graduate School, Chulalongkorn University และยังได้เปิดตัวหลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิต 28 หลักสูตร เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิต บัณฑิตจบใหม่ และบุคคลเพิ่งเริ่มทำงาน

แจ้งเกิดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลูกฝัง Productivity Mindset แรงงาน

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ มีเป้าหมายในการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ร่วมกับสถาบันเพิ่มฯ ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ ที่ต้องยกระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือ สร้างกลไกการบริหารจัดการและร่วมกันพัฒนาระบบการให้บริการ การสร้างความหลากหลายขององค์ความรู้แก่ผู้เรียน ที่ต้องการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิสิต บุคลากร ศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป 

นายสุวรรณชัย กล่าวว่า หลักสูตรที่นัดขึ้น เป็นการขยายแนวคิด “ผลิตภาพนิยามใหม่ สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน” และการปลูกฝัง Productivity Mindset กระตุ้นให้เกิดทักษะที่สำคัญเพื่อยกระดับศักยภาพของบุคลากรไทยในอนาคต

 

“ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันเพิ่มผลิตแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย ในครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการขยายแนวคิดผลิตภาพนิยามใหม่ ให้มีความครอบคลุม และเข้าถึงกลุ่มนิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และบุคลากรวัยพร้อมเริ่มงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่ไม่หยุดที่จะเรียนรู้"

หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตภายใต้โครงการบริการวิชาการ การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบัน ได้รับการพัฒนาขึ้นมา 5 ด้าน ประกอบด้วย Strategic Management, Customer & Marketing Management, Workforce Management, Self-Development และ Operational Excellence ในรูปแบบE-Training, Workshop onsite และ Site visit ในสถานประกอบการจริง รวม 28 หลักสูตรซึ่งจะทำให้เกิดทักษะ ประสบการณ์ และยังนำไปสู่การสะสมประวัติการเรียนรู้ หรือPortfolio ของตัวเอง

 

อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เทียบโอนหน่วยกิตได้อีกด้วย พร้อมทั้งสามารถยกระดับวิชาชีพของบุคลากรของไทย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับอนาคตของบุคลากรไทย

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวว่า CUGS Academy ในฐานะ Learning Platform ที่มีความหลากหลาย ต้องการขยายโอกาสทางการเรียนรู้สู่ทุกช่วงวัย ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทุกระดับ และมุ่งเป็นกลไกในการสนับสนุนให้เกิดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ไปใช้พัฒนาตนเองพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และร่วมยกระดับผลิตภาพในทุกภาคอุตสาหกรรมของไทย

 

 นอกจากนี้ ภายในงานมีการแนะนำหลักสูตร ขั้นตอนการเข้าเรียน การเก็บ portfolio โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธิติ บวรรัตนารักษ์ ผู้อำนวยการ CUGS Academy และรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณพรพิมลพรรณ ดวงใจบุญ ผู้จัดการส่วนบริการฝึกอบรมและสัมมนา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ