บริษัท เผยแพร่ในโพสต์บนเฟซบุ๊ก ว่า "เมอร์ริล เจ เฟอร์นานโด" ผู้ก่อตั้ง “ชาดิลมา” เมื่อปี 2528 เสียชีวิตในเมืองโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา ท่ามกลางลูกชายและหลานๆรอบตัว ในวาระเวลาสุดท้ายชีวิต
ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรชาซีลอนดิลมานั้น ล้วนมาจากวิสัยทัศน์ของเฟอร์นันโด ที่ยึดถือความซื่อสัตย์ อีกทั้งยังศรัทธาและรักในชา เขาดำเนินธุรกิจนี้ด้วยแรงบันดาลใจที่เปลี่ยมล้น เป้าหมายคือ ทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น
"ดิลฮาน ซี เฟอร์นานโด" ลูกชาย เคยให้สัมภาษณ์ว่า พ่อของเขาคือ “นักปฏิวัติ” ในอดีตที่ศรีลังกาตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักร ผลผลิตชาที่คนศรีลังกาปลูก ต้องถูกส่งไปยังสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
จนกระทั่งช่วงปี 1980 เขาเป็นผู้ปลูกชารายแรกที่เอาชนะลัทธิล่าอาณานิคมในศรีลังกาได้ และเริ่มผลิตเพื่อการพาณิชย์ เขาอุทิศชีวิตให้กับการทำงานในทุกๆวันจนกระทั่งอายุ 91 ปี แม้วางมือจากการบริหาร แต่เขายังคง "เฝ้าดู" ธุรกิจ ด้วยความรัก
ธุรกิจชา "เพื่อสังคม"
ด้วยปรัชญาการดำเนินธุรกิจของเขา และกลายมาเป็นปรัชญาของบริษัท นั่นคือ "รับใช้มนุษยชาติ" หลังจากที่เขาเห็น "ความไม่เท่าเทียมกัน" ที่มีอยู่ทั่วโลก"
เฟอร์นานโด หวังว่าความหลงไหลในชาของเขา จะสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้า คนงาน คนชายขอบในชุมชนและสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจเท่านั้น
ดิลมายังมีมูลนิธิเพื่อการกุศล ชื่อว่า "MJF Charitable Foundation" ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 เริ่มแรก ทุนสนับสนุนงานของมูลนิธินั้นมาจากกำไรของบริษัท ก่อนหักภาษีขั้นต่ำ 10 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาเขาได้เพิ่มเป็น 15 เปอร์เซ็นต์
แบรนด์ที่เข้าใจถึงความสำคัญของชา อย่างแท้จริง
ดิลมา นั้นเต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีอันยาวนาน บริษัทมีความเชี่ยวชาญเรื่องชา ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยวด้วยมือ ไปจนถึงการบรรจุเพื่อจัดจำหน่าย เพื่อคงไว้ซึ่งความสดใหม่จนถึงปลายทางคือผู้บริโภค โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของชาซีลอน ที่ต้องบริสุทธิ์ และไม่ควรมีสิ่งปลอมปน
บริษัทยังมุ่งเน้น "การลงทุนเทคนิคโนโลยี" เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ดิลมา มีโครงการด้านสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งได้รับ "สถานะเป็นกลางทางคาร์บอน" ในปี 2020 ไร่ชาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีทางเดินธรรมชาติที่เชื่อมระหว่างเขตป่าสงวนสองแห่งที่แยกจากกัน และยังมีศูนย์อนุรักษ์เพื่อการวิจัยและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นภาคเอกชนแห่งแรกของศรีลังกา ที่ศึกษาเรื่องนี้จริงจัง
ด้านผลประกอบการของบริษัท ดิลมา ทำกำไรต่อเนื่องในทุกๆปี ณ สิ้นปี 2565 มีรายได้ 6.014 พันล้านเหรียญสหรัฐ ( 2 แสนล้านบาท) กำไร 2.551 พันล้านเหรียญสหรัฐ ( 8.7 หมื่นล้านบาท) เท่ากับทำไร 42.4% และตลอดช่วงปี 2018 - 2022 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยอยู่ที่ 42.8%