นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ช่วงเดือนมกราคม 2567 ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จำนวน 54 ราย เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 14 ราย
และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 40 ราย เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,171 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 172 คน
โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรกของเดือนมกราคม 2567 ได้แก่
1. ญี่ปุ่น 15 ราย เงินลงทุน 3,793 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ อาทิ
2. สิงคโปร์ 7 ราย เงินลงทุน 1,083 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ อาทิ
3. จีน 7 ราย เงินลงทุน 768 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ อาทิ
4. สหรัฐอเมริกา 6 ราย เงินลงทุน 26 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ อาทิ
5. ฮ่องกง 4 ราย เงินลงทุน 264 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ อาทิ
เมื่อเปรียบเทียบเดือนมกราคมของปี 2566 พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 2 ราย (4%) และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,042 ล้านบาท (40%) แต่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 649 ราย (79%) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น
ทั้งนี้การลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ ในเดือนมกราคม 2567 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 17 ราย คิดเป็น 31% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 จำนวน 9 ราย คิดเป็น 113% โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC 2,296 ล้านบาท คิดเป็น 32% ของเงินลงทุนทั้งหมด เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น 5 ราย ลงทุน 476 ล้านบาท, จีน 5 ราย ลงทุน 462 ล้านบาท, เกาหลี 2 ราย ลงทุน 280 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ อีก 5 ราย ลงทุน 1,078 ล้านบาท
โดยธุรกิจที่ลงทุน อาทิ ธุรกิจบริการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานพาหนะไฟฟ้า ธุรกิจบริการทางวิศวกรรมและเทคนิค ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม/Capacitor/ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทำความสะอาดทุกประเภท)