สรุปเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามประกาศ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง 2567 ซึ่งลงนามโดย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน ก.พ. ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญของกฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ การกำหนดอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสายงานต่างๆ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง , หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงตามที่ ก.พ.กำหนด , ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกัน ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 21,000 บาท
2. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 15,600 บาท
3. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ซึ่งมิใช่ตำแหน่งตามข้อ 1 ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ในอัตรา 14,500 บาท
4. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 13,000 บาท
5. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 10,000 บาท
6. ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 10,000 บาท
7. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท
8. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท
9. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท
10. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท
11. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท
ทั้งนี้ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2567 ได้กำหนดบัญชีสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่ง ดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ทุกสายงาน
2. ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ทุกสายงาน
3. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง ทุกสายงาน
4. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ทุกสายงาน
5. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ทุกสายงาน
6. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ทุกสายงาน
7. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการ และระดับชํานาญการพิเศษ ได้แก่ สายงานกายภาพบําาบัด, สายงานกายอุปกรณ์ ,สายงานกิจกรรมบาบัด, สายงานจิตวิทยาคลินิก, สายงานชีววิทยารังสี, สายงานทันตแพทย์, สายงานเทคนิคการแพทย์, สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก, สายงานนายสัตวแพทย์, สายงานพยาบาลวิชาชีพ, สายงานแพทย์, สายงานแพทย์แผนไทย ,สายงานเภสัชกรรม, สายงานรังสีการแพทย์, สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย , สายงานนิวเคลียร์เคมี ,สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์, สายงานฟิสิกส์รังสี ,สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ ,สายงานวิศวกรรมการเกษตร
สายงานวิศวกรรมเครื่องกล, สายงานวิศวกรรมชลประทาน, สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์, สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม, สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า, สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร, สายงานวิศวกรรมโยธา, สายงานวิศวกรรมโลหการ, สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่, สายงานสถาปัตยกรรม
8. ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่ สายงานคีตศิลป์, สายงานดุริยางคศิลป์, สายงานนาฏศิลป์, สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม