KEY
POINTS
จากกรณี วันแรงงานที่ผ่านมา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ประสานเสียง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ประกาศขึ้นค่าแรง 400 บาทถ้วนหน้าเท่ากันทั้งประเทศ ทุกอาชีพ ภายในวันที่ 1 ต.ค. 2567 แต่อย่างไรก็ตามต้องให้คณะกรรมการไตรภาคีศึกษาว่า วิชาชีพไหนพร้อม และไม่พร้อม ซึ่งมีเวลาหลังจากนี้อีก 5 เดือน และจะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มาหารือถึงแนวทางการช่วยเหลือ และจะนำข้อเสนอเหล่านี้ ไปเสนอนายกฯ ก่อนเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้ง
ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ได้ออกบทความถึงความพยายามปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ในหัวข้อ “โจทย์การเมือง 1 ตุลาคม 2567 ต้องปรับค่าจ้างขั้นตํ่า 400 บาท ให้ได้” ตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่า สามารถประกาศค่าจ้างขั้นตํ่าล่วงหน้าได้หรือไม่
เนื่องจากพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 กําหนดให้การปรับค่าจ้างเป็นหน้าท่ีของคณะกรรมการ ค่าจ้าง โดยต้องพิจารณาตามสูตรการคํานวณเชิงเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การมีส่วนร่วมของ แรงงาน (L จังหวัด) อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภาพ อัตราเงินเฟ้อ ตัวแปรเชิงคุณภาพตามมาตรา 87 มีการแต่งต้ังอนุกรรมการฯ ให้ไปศึกษาและทบทวนสูตรว่ายังคงใช้ได้ดีหรือไม่ในปัจจุบัน
ล่าสุดการประชุม ของบอร์ดค่าจ้างเดือนกุมภาพันธ์ท่ีผ่านมาเห็นว่าสูตรท่ีใช้อยู่ยังมีความเหมาะสมกับปัจจุบัน เพียงแต่อาจเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการเก็บขอมูลเงินเฟ้อ การปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศไม่สามารถอนุมาน จากการนําร่อง 10 จังหวัดท่องเที่ยวมาใช้ได้ เหตุเพราะเกี่ยวของกับแรงงานในระบบประกันสังคม 11.882 ล้านคน และแรงงานนอกระบบอีกประมาณ 13.733 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีแรงงานต่างด้าวอีกไม่น้อยกว่า 3.313 ล้านคน
ในขณะที่การปรับค่าจ้าง 400 บาทเฉพาะจังหวัดที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวและเป็นบางพื้นท่ีไม่ใช่ทั้งจังหวัด เมื่อวันที่ 12 เมษายน มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่มากเนื่องจาก สถานประกอบการที่อยู่ในภาคท่องเที่ยวการจ่ายค่าจ้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดแรงงาน และมีจำนวนแรงงาน ประมาณ 30,000 คน
ฉากทัศน์ตลาดแรงงาน ณ สิ้นปี 2566 มีสถานประกอบการประมาณ 8.504 แสนกิจการ ในจํานวนน้ีเป็นโรงงานอุตสาหกรรมจํานวน 72,699 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยไปจนถึงขนาดกลาง คิดเป็นร้อยละ 90 ของสถานประกอบการทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แรงงานเข้มข้น ผลิตภัณฑ์ขาดนวัตกรรมและแบรนด์
เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต มีความอ่อนไหวต่อต้นทุน การปรับค่าจ้าง 400 บาทเท่ากันท่ัวประเทศ มีอัตราแตกตางกันถึง 17 อัตรา ตํ่าสุด 330 บาท และสูงสุด 370 บาททําให้การปรับค่าจ้างแต่ละโซนมีความแตกตางกันตั้งแต่อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างร้อยละ 10.2 ถึงสูงสุดที่ ร้อยละ 21
ค่าเฉลี่ยการปรับค่าจ้างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งจะกระจุกอยู่ในช่วงอัตรา ค่าจ้างวันละ 340 – 350 บาท ซึ่งจะทําให้อัตราค่าจ้างเพิ่มข้ึนเฉลี่ยเดือนละ 1,650 บาท หากมีแรงงาน 200 คน ค่าจ้างจะปรับเพิ่มข้ึนไปมากกว่า 4 ล้านบาทต่อปี สําหรับรายใหญ่คงเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ SMEs เป็นเรื่องที่ใหญ่มีความสําคัญต่อความอยู่รอด
ผลกระทบค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นระดับนี้จะมีผลกระทบต่อต้นทุนโดยเฉพาะอุตสาหกรรม และภาคบริการท่ีใช้แรงงานเข้มข้น ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จะไม่อํานวยแต่ความจําเป็นที่จะต้องขึ้นราคาสินค้าคงไม่มีทางเลือก และผู้ประกอบการรายใหญ่จะถือโอกาสผสมโรงปรับราคาสินค้าคร้ังใหญ่
ขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต้นทุนของไทยจะลดลงกระทบต่อภาคส่งออก ซึ่งคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เกิน 1 ใน 2 เป็นอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในยุค 3.0 เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมการ์เมนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตวน้ํา อุตสาหกรรมถุงมือยางรวมถึงอุตสาหกรรมที่รับจ้างการผลิต (OEM) เป็นต้น
นอกจากน้ีระยะยาวอาจกระทบต่อการลงทุน ท้ังที่จัดต้ังใหม่หรือบางส่วนอาจย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน หรือในภูมิภาคซึ่งอัตราคาจ้างต่ำกวาไทย และอาจถูกแย่งตลาดภายในประเทศ กระทบต่อตลาดแรงงานในอนาคต
ทางออกคงไม่ใช่เก่ียวกับการนํา AI ซึ่งกําลังตื่นเต้นกับการท่ีไมโครซอฟท์มีแผนลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพราะยังมีข้อจํากัดทั้งลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่ยังต้องอาศัยแรงงานมนุษย์เป็นองค์ประกอบสําคัญ ซึ่งประเทศไทยยังติดกับดักสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมท่ีใช้แรงงานเข้มข้น ส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานตํ่า ทําให้มีความอ่อนไหวด้านต้นทุนค่าจ้าง
ขณะที่การขายสินค้าท้ังเพื่อส่งออก และในประเทศต้องแข่งกับประเทศท่ีมีต้นทุนค่าจ้างต่ำ หรือใช้เทคโนโลยีสูง นอกจากน้ีการเข้าถึงแหล่งเงินจากสถาบันการเงิน เพื่อลงทุนในเทคโนโลยียังมีข้อจํากัด ทางออกคงไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้มีการ Reskill หรือ Upskill เพราะหากนายจ้างยังเป็น Low skill หรือยังเป็น Low Technology ทักษะเหล่านั้นก็อาจไม่มีประโยชน์