นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในการหล่าวปาฐกถาพิเศษ “6S ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยฝ่าวิกฤตสู่ความยั่งยืน ตอนหนึ่งว่า ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการให้พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model)
ด้วยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและเทคโนโลยีอย่างง่ายเพื่อการผลิตไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้วางกลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย โดยกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย 6 ด้านหลัก หรือ “6S” ประกอบด้วย
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-industrial Town) เป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ และบรรเทาผลกระทบจากการประกอบการอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
อีกทั้งยังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับแนวทางการดำเนินงานหลายประเทศทั่วโลก มุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เนื่องจากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักในหลายพื้นที่
นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน กล่าวต่อว่า ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)
มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-products) ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนภาคส่วนอื่นๆ และการบริโภคอย่างยั่งยืนของประชาชน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต (Supply chain)
โดย ส.อ.ท.มีวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมให้นำหลักการ BCG ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจการขององค์กร และจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการพัฒนา Thailand Carbon Credit Exchange Platform รวมทั้งการจัดตั้ง RE100 Thailand Club เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรม