EECi ฟันธง เขย่างานวิจัยนวัตกรรมลงจากหิ้ง สร้างประโยชน์ประเทศเต็มแม็กซ์

29 พ.ย. 2565 | 10:28 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ย. 2565 | 18:41 น.

EECi เปิดสูตรการลงทุนพัฒนานวัตกรรมแบบบูรณาการ 1รัฐ + 5เอกชน = 200 หวังสร้างประโยชน์มหาศาลประเทศ วางกลไกการทำงาน ยืนยันงานวิจัยไม่อยู่บนหิ้ง เผยสร้างอีโคซิสเต็ม ทั้งอินฟราสตรัทเจอร์ ระบบสื่อสาร 5G และกฎระเบียบ ผลักดันเศรษฐกิจไทยเติบโตเต็มที่

จากงานเสวนา The Big Issue เรื่อง EECi พลิกโฉมประเทศไทย สู่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค EECi ของ "ฐานเศรษฐกิจ" ในหัวข้อ ศูนย์กลางสร้างนวัตกรรม สู่เวทีโลก ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า อีอีซีไอให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับการลงทุนนวัตกรรม ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอีอีซี และเนื่องจากไทยไม่ใช่ผู้นำด้านเทคโนโลยี ดังนั้น เรื่องการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ 

 

"อีอีซีไอ เราสนใจการพัฒนาเทคโนโลยี ลงทุนอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มทุน ประเทศไทยไม่ได้มีงบมาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจึงสำคัญ เราออกงบบูรณาการหนึ่งบาท และจำเป็นต้องให้เอกชนมาช่วยเราอีกห้าบาท โดยต้องสร้างความมั่นใจว่า จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ 200 บาท นี่คิดสิ่งที่เรากำลังทำที่อีอีซีไอ และสิ่งที่เราทำจะต้องไม่อยู่บนหิ้ง แต่ต้องเกิดอุตสาหกรรมได้" ดร.ชิต กล่าว

สำหรับการเตรียมพร้อมรองรับการลงทุน เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 5G ในพื้นที่อีอีซี ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ การวางโครงสร้าง ท่อ เสา สาย สัญญาณ ให้ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี และการตั้งศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) คลาวด์ (Cloud) และข้อมูลกลาง (Common Data Lake) เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ได้จากการส่งสัญญาณของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงเครื่องจักรในโรงงาน ต่อยอดการใช้ประโยชน์ของข้อมูลที่ได้ในอนาคต นอกจากนี้ ในพื้นที่อีอีซี ยังตั้งสัญญาณ 5G ครบ 100% แล้ว ทำให้ไทยประเทศแรกในอาเซียนที่มี 5G ครอบคลุมทั้งประเทศ 

EECi ฟันธง เขย่างานวิจัยนวัตกรรมลงจากหิ้ง สร้างประโยชน์ประเทศเต็มแม็กซ์

ส่วนการส่งเสริมด้านรถอีวี หรือรถยนต์ไฟฟ้า ได้มีการสร้างสนามทดสอบเฟส 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังเดินหน้าเฟส 2 ที่เป็นการลงทุนด้านซอฟท์แวร์ ซึ่งจะเป็นการวางมาตรฐานเพื่อขยายศักยภาพสู่ Autonomous Vehicle (AV) ซึ่งการลงทุนพัฒนาสนามทดสอบนี้ จะช่วยทำให้ซัพพลายเชนของผู้ลงทุนและของไทย สามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถพัฒนาต่อยอดได้ง่ายขึ้น 

อย่างการลงทุนของค่ายรถยนต์บีวายดีหนึ่งในเจ้าตลาดอีวีโลกสัญชาติจีน ที่เตรียมตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย หลังบีโอไออนุมัติการลงทุน มูลค่า 17,891 ล้านบาท คาดเริ่มผลิตรุ่น BEV และ Hybrid ในปี 2567 หนุนไทยเป็นฐานส่งออกของภูมิภาค ขณะนี้มีการเจรจาขอให้ไทยซัพพอร์ตจัดหาแรงงานราว 8,000 คน ภายใน 10 เดือนหลังจากนี้ ดดยทางบีวายดี จะส่งมืออาชีพของเขามาช่วงเทรนด์ ซึ่งถือเป็นโอกาสในการอัพสกิลแรงงานไทยไปในตัว และในอนาคต บีวายดี ยังมีแผนลงทุนในไทยอีกกว่าแสนล้านบาท เพื่อสร้างไทยเป็นอาณาจักรด้านฐานการผลิตของบีวายดีอีกด้วย 

 

ส่วนการพัฒนาการลงทุนด้านหุ่นยนต์ "ดร.ชิต" กล่าวว่า หุ่นยนต์เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม 4.0 มูลค่ามันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อินเตอร์เน็ตแซทเทิลไลซ์ก็ติดต่อมาที่อีอีซี อนาคตจะช่วยให้ลดปัญหาเรื่องการสต๊อกของลงไปได้มาก มูลค่าจะหายไปปีละเป็นแสนล้านบาท เนื่องจากระบบจะเป็นเรียลไทม์มากขึ้น ทำให้ไม่ต้องมีการสต็อกของ 

 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนพัฒนาหุ่นยนต์ ปัจจุบันมันเป็นเรืองอัตนมัติไปแล้ว เพราะเราต้องการหุ่นยนต์เข้ามาช่วยทำงานมากขึ้น แต่เราต้องมองให้ไกล ถ้าจะลงทุนไปสร้างหุ่นยนต์ เราจะสู้บิ๊กเพลย์เยอร์ไม่ได้ แต่ถ้าหุ่นยนต์ที่มีความเฉพาะตัว พัฒนาให้เหมาะกับงานเฉพาะด้านจะดีมาก และมีอกาสในการแข่งขันได้

อีกส่วนคือ การพัฒนากำลังคน เพื่อรองงรับการเติบโตของอีอีซี ต้องมีการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับการลงทุน ภายใน 5 ปี ใช้แรงงานกว่า 4 แสนคน ขณะเดียวกัน ถ้ามีความต้องการเร่งด่วน ก็พร้อมร่วมมือกับต่างประทศ เชิญชวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามา ภายใต้กฎกติกาที่จะต้องดูว่า เราต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไหน ประเภทใด ซึ่งขณะนี้กำลลังคุยกับวิศวกรรมถสาน เพืื่อออกแบบกฎกติกาดังกล่าว

 

ส่วนของออโตเมชั่น อีอีซี ก็มีการประสาน เกาหลีใต้ จีน ญีี่ปุ่น ไทย เพื่อคอนเวิร์สอุตสาหกรรมที่มีอยู่กว่า 9,000 โรงงาน ไปสู่ระบบออโตเมชั่นอุตสาหกรรม 4.0 ให้ได้ 70% ภายใน 3 ปี