"ประกันสังคม"ไขข้อสงสัย แต่ละมาตราต่างกันอย่างไร ม.33 ม.39 และม.40 มาดูกัน
ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน
กองทุนประกันสังคม มีการคุ้มครองผู้ประกันตนโดยแบ่ง 3 มาตราหลักๆ ได้แก่
มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม
โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีตาย
4. กรณีสงเคราะห์บุตร
5. กรณีชราภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบสมาชิกของผู้ประกันตน หรือผู้ที่เคยเป็นสมาชิกเว็ปไซต์แล้วสามารถเข้าระบบ เพื่อตรวจสอบสิทธิของตนเองได้เลย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office