thansettakij
อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

29 ธ.ค. 2565 | 05:53 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ธ.ค. 2565 | 13:11 น.

ชาวอุดรธานีจิตตก  เตรียมงานมหกรรมพืชสวนโลกอุปสรรคอื้อ ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้ เหตุที่ชุ่มน้ำมี 6 หน่วยงานราชการดูแล รอครม.ไฟเขียวพักใช้มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ การออกแบบแผนแม่บทพื้นที่ยังไม่ตอบโจทย์อัตลักษณ์อีสาน แถมได้งบจำกัด หวั่นไม่ทันกำหนดงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 22 ธ.ค. 2565  นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะลงพื้นที่บริเวณหนองสาธารณะหนองแด ต.กุดสระ อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี  เป็นครั้งที่ 2 เพื่อติดตามความก้าวหน้า การเตรียมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก อุดรธานี พ.ศ. 2569 บนเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่เศษ

 

โดยมีนายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ต้อนรับและให้ข้อมูล 

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

นายวิเชียร  ขาวขำ  นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวรายงานว่า  การเตรียมความพร้อมการพัฒนาพื้นที่ มีความก้าวหน้าไปได้มากในระดับหนึ่ง ทางจังหวัดมีการลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ขึ้นดูแล เช่น การขอใช้พื้นที่ทุ่งหนองแดและพื้นที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ อยู่ในระหว่างการขอเข้าใช้พื้นที่ จากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดต่าง ๆ  และอยู่ระหว่างขออนุมัติการผ่อนผันจากคณะรัฐมนตรี เพื่อยกเว้นไม่นำมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำมาใช้บังคับในการเข้าใช้ประโยชน์   

 

ทางจังหวัด ร่วมกับอบจ.อุดรธานี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกอำเภอ ได้เตรียมการปลูกต้นทองอุไร ในพื้นที่ว่างทุกพื้นที่ เป้าหมาย 1 ล้านต้น เพื่อให้พื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีสีเหลืองอร่าม เมื่อมองลงมาจากเครื่องบินก็สามารถเห็นความสวยงามได้

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

นอกจากนี้ทางจังหวัดอุดรธานี ยังมีหนังสือถึงอบจ.อุดรธานี ให้จัดทำการนับถอยหลังการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569   โดยในกลางเดือน ม.ค.2566 นี้  น่าจะสามารถเริ่มนับถอยหลังได้ จึงอยากขอความร่วมมือรัฐบาล ให้ช่วยประชาสัมพันธ์งานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 ตามสนามบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ  รวมทั้งได้จัดทำสรุปหัวข้อการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ตามที่ TCEP แจ้ง ไปยังกระทรวงเกษตรฯแล้ว เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามมีอุปสรรคหนึ่งยังไม่ก้าวหน้า คือการที่จังหวัดอุดรธานี ทำการคัดเลือกหาผู้รับจ้างการออกแบบมาสเตอร์แพลน ให้ออกแบบพื้นที่การจัดงานมาแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ กล่มคะแนนด้านอัตลักษณ์อีสานของงานคอนเซ็ปท์ ดีไซน์ ถือว่าไม่ผ่าน ไม่โดดเด่นพอ ยังไม่ตอบโจทย์อัตลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสาน ตามธีมงานของพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี  ที่ใช้ชื่อ“Harmony of Life" จึงยังไม่สามารถนำมาสเตอร์แพลนมานำเสนอให้ชมได้

ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ที่อุดรธานี ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ที่อุดรธานี

นายวิเชียร กล่าวด้วยว่า นับถอยหลังจากนี้จนถึงวันจัดงานมีเวลาเหลืออีกเพียง 3 ปี กับ 11 เดือนเท่านั้น เป็นเวลาที่บีบหัวใจอย่างมาก การขอเข้าใช้พื้นที่สวนสาธารณะหนองแด ก็ติดขัดระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ เพราะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลอยู่ ซึ่งต้องขอครม.ช่วยเร่งรัดผ่อนผันมาตรการในการเข้าใข้พื้นที่  รวมถึงความชัดเจนเรื่องการสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะต้องผ่านบริเวณพื้นที่งานมหกรรมพืชสวนโลก เรื่องงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 จะได้หรือไม่ ซึ่งต้องขอให้มีความชัดเจน 

 

ด้านนายสวาท  ธีระรัตนนุกูลชัย  รองประธานหอการค้าไทย และประธานพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ให้ความเห็นสอดคล้องกับนายก อบจ.อุดรธานี ในเรื่องการจ้างบริษัทเอกชนทำมาสเตอร์แพลนพื้นที่จัดงานมหกรรมพืขสวนโลก ที่มีสะท้อนอัตลักษณ์อีสานตามข้อกำหนด มีเพียง 2 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกการนำเสนอมาสเตอร์แพลน แต่ก็จัดทำข้อเสนอในรูปแบบและลักษณะใกล้เคียงกัน แม้ไม่ตรงกับธีมงานที่กำหนด แต่เป็นไปตามระเบียบของ TOR จึงต้องยึดตาม TOR จึงมีประเด็นปัญหาที่ไม่หลากหลาย ไม่ตรงและไม่เข้ากับอัตลักษณ์อีสาน 

ภาพจากแฟ้ม ตัวแทนประเทศไทยและพื้นที่อุดรธานี แสดงความยินดีผลการคัดเลือกให้อุดรธานีเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 ภาพจากแฟ้ม ตัวแทนประเทศไทยและพื้นที่อุดรธานี แสดงความยินดีผลการคัดเลือกให้อุดรธานีเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569

"ด้วยข้อจำกัดของ TOR จึงอยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้มีการทบทวนในประเด็นดังกล่าว หากปล่อยไว้ก็จะกลายเป็นข้อขัดแย้ง ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 4 ปี จึงรู้สึกเป็นห่วง เพราะเราต้องการโชว์ความเป็นอัตลักษณ์ภาคอีสานที่โดดเด่นให้ทั่วโลกรับรู้ แต่ไม่มีในแบบที่นำเสนอ  จึงเป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายจะต้องคิด และเตรียมบริหารจัดการให้เหมาะสม อย่าทำให้เสียเวลา ทุกอย่างจะต้องมาหาทางออกร่วมกันเพื่อประเทศไทย"นายสวาทกล่าว 

 

ทั้งนี้ ในการประชุมสามัญประจำปี เมื่อ 8 มีนาคม 2565 ของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (The International Association of Horticultural Producers หรือ AIPH) ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมติตกลงตามข้อเสนอของประเทศไทย ในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี พ.ศ. 2569 (Udon Thani International Horticultural Expo 2026) ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 ถึง 14 มีนาคม 2570

 

ภายใต้แนวคิด “Diversity of Life: Connecting Water, Plants, and People for sustainable living หรือ ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต: สายสัมพันธ์แห่งน้ำ พืชพรรณ และผู้คนสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน” อันสะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของจังหวัดอุดรธานี ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสายน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้คนในท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน ตามที่ทางจังหวัดร่วมกับ TCEB เสนอความจำนง 

อุปสรรคอื้อชาวอุดรธานีหวั่นเตรียมมหกรรมพืชสวนโลก2569ไม่ทัน 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การเตรียมความพร้อมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก อุดรธานี พ.ศ.2569 ที่เหลือเวลาอีก 3 ปี 11 เดือน นั้น ในพื้นที่มีความกังวลกันมาก เนื่องจากมีอุปสรรคเกิดขึ้นหลายเรื่อง ทั้งเรื่องงบประมาณจัดงานที่ขอไว้ 2,500 ล้านบาท ที่ผ่านมาทางจังหวัดอุดรธานี ได้รับจัดสรรก้อนแรกเพียง 50 ล้านบาทเศษ การใช้พื้นที่สวนสาธารณะหนองแด ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลอยู่ 5-6 หน่วยงาน ก็ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้

 

ขณะที่ในปี 2566 จะมีการเลือกตั้งทั่วไป และการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาตลอดครึ่งปีแรก ขณะที่ในพื้นที่เองก็มีการโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ทำให้การเตรียมงานอาจไม่ต่อเนื่อง คนใหม่ต้องมาศึกษางานใหม่ก่อนจะผลักดันงานต่อ ทำให้เป็นห่วงว่าจะไม่ทันเวลาที่กระชั้นเข้ามาอยางมาก 

 

ยงยุทธ ขาวโกมล/รายงาน