วันที่ 7 มกราคม 2566 ที่ ประเทศเกาหลี ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ระหว่างนี้คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ นำโดยนายศราวุธ เพชรพนมพร ประธาน กรรมาธิการ นายเกียรติ สิทธิอมร รองประธานกรรมาธิการและคณะ นำพบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสะท้อนปัญหาอุปสรรคซึ่งกันและกัน กับรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและการจ้างงานสาธารณรัฐเกาหลี (H.E. Lee Jung Sik)
ระบุว่า ทั้ง 2 ฝ่ายได้แลกเปลี่ยนปัญหาซึ่งกันและกันและทางกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรเราก็สะท้อนปัญหาที่ประชาชนพบเจอมาแลกเปลี่ยนกับรัฐมนตรีของทางนี้และอยากให้ฝ่ายบริหารทั้ง 2 ประเทศได้ดูแลประชาชนของทั้งสองโดยเป้าหมายเรื่องการนำแรงงานเข้าอยู่ในระบบได้ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย การเพิ่มโควต้าแรงงานก็เป็นเรื่องจำเป็นและตราบใดที่เกาหลียังมีคนต้องการจ้างมีดีมานด์ย่อมมีซัพพลายก็ต้องมีภารกิจที่เราต้องทำ ทางนี้เพื่อผลักดันให้เป้าหมายสำเร็จและการที่ฝ่ายสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนมาสะท้อนปัญหาด้วยตนเองก็เป็นเรื่องที่เขารับฟัง
ด้านนายเกียรติ กล่าวว่า กรรมาธิการการต่างประเทศก่อนมาถึงตั้งใจว่าเราจะคุยเรื่องปัญหาแรงงานไทยในเกาหลี เราพบว่าแรงงานที่ถูกกฎหมายมีน้อยมากเพียงหลักหมื่น แต่ในขณะเดียวกันที่ผิดกฎหมายหลักแสน คือเรื่องหนึ่งที่เราพยายามผลักดันก่อนเดินทางมาครั้งนี้ได้พบกับท่านทูตเกาหลีที่ประจำประเทศไทยได้บอกท่านว่าถ้าเราสามารถทำให้ผู้ที่อยู่ผิดกฎหมายเป็นถูกกฎหมายได้เหมือนกับที่เมืองไทยทำกับแรงงานต่างด้าวในไทยเช่นกันนั้น จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
"ถือโอกาสครั้งนี้มาพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซึ่งท่านรับทราบข้อมูลเหล่านี้ดี ท่านรับเรื่องที่เราร้องขอว่าจะไปหารือกับทุกฝ่าย ปัญหาใหญ่ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงแรงงานแต่รวมไปถึงกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนดูแลวีซ่าซึ่งมี 10 กว่าประเภท แต่ที่ดูแลโดยกระทรวงแรงงานมี 2 ประเภท เป็นช่องโหว่ของกฎหมายทำให้มีแรงงานลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศนี้ จุงได้ร้องขอและพยายามผลักดันเรื่องนี้ต่อไปประสานความร่วมมือกันเราอยากเห็นที่เราแนะนำประสบการณ์ของเมืองไทยที่ขึ้นรายงานทะเบียนแรงงานต่างด้าวและนิรโทษกรรม " รองประธานกรรมาธิการ กล่าว
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า ซึ่งแรงงานจากไทยก็มีหลายสาขาทั้งภาคเกษตร ช่างเชื่อมอู่ต่อเรือ ภาคบริการทั่วไปและธุรกิจ ส่วนที่มาทำผิดกฎหมายมากที่สุดคือนวดไทยกลายเป็นอาชีพต้องห้ามของเกาหลีเพราะสงวนไว้สำหรับคนเกาหลีที่เป็นคนทุพพลภาพอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนเรื่องการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวไทยเข้าประเทศเกาหลีนั้นก็มีระบบ K-ETA หรือ Korea Electronic Travel Authorization
คือระบบออนไลน์ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อคัดกรองผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศมายังเกาหลีใต้ กลายเป็นเหมือนวีซ่าอีกประเภทหนึ่งนำมาใช้กรองคนเข้าประเทศและทราบว่ามีการเลือกปฏิบัติพอสมควร ส.ส.หญิงจากประเทศไทยเข้ามาไม่ผ่านก็มีก็เป็นปัญหาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบบของเขาก็มีปัญหาจริงและเราต้องขอให้เขาปรับปรุงระบบ K-ETA ด้วย
.......