อัตราภาษี
- ได้กําหนดอัตราภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไว้ไม่เกินครั้งละ 5,000 บาท (มาตรา 8) แต่ได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราภาษีการเดินทางโดยทางอากาศครั้งละ 1,000 บาท และการเดินทางโดยทางบกหรือทางน้ำครั้งละ 500 บาท
การชำระหรือเสียภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ให้ผู้เดินทางชําระเป็นรายบุคคลไม่ว่าจะมีการออกตั๋วโดยสารเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม ตามมีวิธีการเดินทาง (มาตรา 8 วรรคสอง และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเสียภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2526) ดังนี้
การเดินทางโดยทางเครื่องบิน
- หากเป็นกรณีปกติ เช่น ซื้อตั๋วโดยสารในประเทศ ให้ชําระต่อผู้ประกอบการขนส่งหรือตัวแทน ซึ่งจําหน่ายตั๋วโดยสารในทันทีที่ซื้อตั๋วโดยสาร
- หากมีเหตุจำเป็น เช่น ซื้อตั๋วโดยสารมาจากต่างประเทศให้ชําระต่อ ผู้ประกอบการขนส่งหรือตัวแทนในประเทศไทย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่ท่าอากาศยาน หรือที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ท่าอากาศยานตั้งอยู่ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากรประจําท่าอากาศยาน
- หากเป็นกรณีที่มีการเดินทางทางอากาศโดยการเช่าเครื่องบินเหมาลํา ซึ่งทางสายการบินออกบัตรโดยสารให้เพียงใบเดียว การเสียภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจะต้องเสียตามจํานวนคนที่โดยสาร
การเดินทางโดยทางเรือ
- กรณีปกติ ซื้อตั๋วโดยสารในประเทศไทย ให้ชําระต่อผู้ประกอบการขนส่งทางเรือ หรือตัวแทน ซึ่งจําหน่ายตั๋วโดยสารในทันทีที่ซื้อตั๋วโดยสาร
- กรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ซื้อตั๋วโดยสารมาจากต่างประเทศให้ชําระต่อผู้ประกอบการขนส่ง หรือตัวแทนดังกล่าวในประเทศไทย หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากรประจําท่าเรือ หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ (เว้นท้องที่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ที่ด่านศุลกากรประจําท่าเรือตั้งอยู่
การเดินทางโดยทางรถไฟ
- ให้ชําระต่อพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ สถานีรถไฟกรุงเทพหรือสถานีรถไฟซึ่งจําหน่ายตั๋วโดยสารให้ทันทีที่ซื้อตั๋วโดยสาร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากรประจําพรมแดน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ด่านศุลกากรประจําพรมแดนตั้งอยู่ สำหรับกรณีที่ผู้เดินทางไม่ได้ซื้อตั๋วรถไฟที่กรุงเทพหรือหาดใหญ่
การเดินทางโดยทางอื่น
- ให้ชำระต่อผู้ประกอบการขนส่งซึ่งจําหน่ายตั๋วโดยสารให้ทันทีที่ซื้อตั๋วโดยสาร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากรประจําพรมแดน หรือ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ด่านศุลกากรประจําพรมแดนตั้งอยู่ สำหรับกรณีที่ไม่มีการซื้อตั๋วโดยสาร
หน้าที่และความรับผิดของผู้เสียภาษี
- ผู้เดินทางจะต้องชําระภาษี และได้รับบัตรภาษีการเดินทาง โดยบัตรภาษีการเดินทางมี 3 ท่อน
- ผู้จําหน่ายบัตรจะเก็บต้นขั้วไว้ และมอบท่อนที่ 2 และ 3 ให้แก่ผู้เดินทางซึ่งผู้เดินทางจะต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองก่อนออกนอกประเทศ
- เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจแล้วฉีกท่อนที่ 2 เพื่อรวบรวมส่งสรรพากร
- ส่วนท่อนที่ 3 จะคืนให้แก่ผู้เดินทางเป็นหลักฐานว่าได้ชําระภาษีไว้แล้ว
- บัตรภาษีการเดินทางท่อนที่ 3 ยังใช้เป็นหลักฐานในการลงบัญชีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลออกค่าภาษีการเดินทางให้แก่พนักงานของตน
- กรณีที่ผู้เดินทางไม่แสดงหลักฐานการชําระภาษีหรือหลักฐานการได้รับยกเว้นภาษี เจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้ผู้นั้นเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทย
- มีหน้าที่รับชําระภาษีการเดินทางและออกบัตรภาษีให้แก่ผู้เดินทาง
- ผู้ประกอบการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทยที่จะรับชําระภาษีการเดินทาง จะต้องมายื่นคําร้องต่อกรมสรรพากรพร้อมตัวอย่างบัตรลายมือชื่อ และมารับบัตรภาษีการเดินทางมาจําหน่ายในจำนวนเท่าที่จำเป็นต้องใช้ในการรับชำระภาษีในระยะเวลาสิบวัน
- ต้องทำบัญชีรับจ่ายและคงเหลือเป็นรายวันให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่รับมาหรือจ่ายไป
- ในกรณีที่ผู้ประกอบการขนส่ง ทําบัตรภาษีการเดินทางสูญหายหรือขาดจํานวนไปโดยไม่ได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย ถือว่าผู้ประกอบการขนส่งได้ใช้บัตรภาษีนั้น ในการรับชําระภาษี และต้องเสียภาษีการเดินทางตามจํานวนบัตรที่สูญหายหรือขาดจํานวนไป
สิทธิของผู้เดินทางหรือผู้เสียภาษี
การขอคืนภาษี
- กรณีบัตรภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรให้ใช้ได้ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ชําระภาษีการเดินทาง ถ้าผู้เสียภาษีไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้มีสิทธิขอคืนภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 180 วันนับแต่วันที่ชําระภาษี (มาตรา 10 และข้อ 8 ของประกาศอธิบดี ฯ)
การยื่นอุทธรณ์
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอาจอุทธรณ์การเรียกเก็บต่ออธิบดีได้ เว้นแต่กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคําสั่ง
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
- ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองอนุญาตให้ผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ผู้นั้นจะได้แสดงหลักฐานการรับชําระภาษีหรือเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 9
- พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเรียกเก็บภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามพระราชกําหนดนี้ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้เสียภาษีตามมาตรา 5
- เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามมาตรา 12 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือพยานมาให้ถ้อยคํา ออกคําสั่งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือพยานตอบคําถามเป็นหนังสือหรือส่งเอกสารอันควรแก่กรณีมาตรวจสอบไต่สวน
- ต้องให้เวลาแก่ผู้รับหมายเรียกหรือคําสั่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกหรือคําสั่งนั้น
- เมื่อได้ดําเนินการตามมาตรา 13 แล้ว และมีภาษีที่ต้องเสียให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม โดยแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษีให้ชําระภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
- ถ้าไม่ชําระภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นภาษีค้าง และให้นําบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับวิธีการเพื่อให้ได้รับชําระภาษีอากรค้างมาใช้บังคับ
- เบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ระเบียบดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บทลงโทษ
โทษทางแพ่ง
- มาตรา 17 ในกรณีที่ผู้เดินทางมิได้เสียภาษีตามมาตรา 8 หรือบุคคลที่รัฐมนตรีประกาศ ตามมาตรา 4 ไม่นําส่งภาษีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนดาตรา 17 ในกรณีที่ผู้เดินทางมิได้เสียภาษีตามมาตรา 8 หรือบุคคลที่รัฐมนตรีประกาศ ตามมาตรา 4 ไม่นําส่งภาษีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด
โทษทางอาญา
- ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคําอันเป็นเท็จ ตอบคําถามด้วยถ้อยคําอันเป็นเท็จ นําพยานหลักฐานเท็จมาแสดงหรือกระทําการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- มาตรา 20 ผู้ใด ไม่อํานวยความสะดวก ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของอธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา 5
- ไม่ชําระภาษีตามมาตรา 8 หรือในกรณีเป็นบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 4 ไม่ปฏิบัติตามประกาศที่อธิบดีกําหนดตามมาตรา 17 โดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ยอมตอบคําถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 13 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- มาตรา 21 ความผิดตามพระราชกําหนดนี้ ถ้าอธิบดีเห็นว่าผู้กระทําความผิดไม่ควรต้องได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ก็ให้มีอำนาจเปรียบเทียบโดยกําหนดค่าปรับแต่สถานเดียวได้ เมื่อผู้กระทําความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่อธิบดีกําหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 (คลิก)