“เอทานอล” คืออะไร ทำไม รัฐฯ ผลักดัน ใช้อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ

14 มิ.ย. 2566 | 23:26 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2566 | 03:56 น.

“เอทานอล” คืออะไร ประโยชน์ ทำไม กรมสรรพสามิต สนับสนุนให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวิภาพ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“เอทานอล” คืออะไร ภายหลังจาก กรมสรรพสามิต ส่งเสริม “เอทานอล” นำไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืนรองรับเป้าหมายการเป็นกลาง ทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608

เอทานอลคืออะไร

เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethylalcohol) มีสูตรเคมี C2 H5 OH เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งเป็นของเหลวไม่มีสีจุดไฟติดระเหยง่ายสามารถลอยได้ในน้ำ และสารละลายอินทรีย์อื่นๆ


 

เอทานอลเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1. วัตถุดิบประเภทน้ำตาล ได้แก่ น้ำอ้อย น้ำตาลจากบีท และ กากน้ำตาลซึ่งยีสต์สามารถ ย่อยสลายวัตถุดิบประเภทนี้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อยเพื่อเป็นน้ำตาล (Pretreatment)

2.วัตถุดิบประเภทแป้ง ได้แก่ มันสำปะหลัง ธัญพืชและมันฝรั่งในการผลิตจะต้องย่อยแป้งในวัตถุดิบให้เป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวเสียก่อนยีสต์จึงจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นเอทานอลได้

3.วัตถุดิบประเภทที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากอ้อย ฟางข้าวซังข้าวโพด และของเสียจากอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษ ฯลฯ

 

เอทานอล คืออะไร

 

ประโยชน์เอทานอล

พลาสติกชีวภาพต่างกับ พลาสติก ทั่วไปอย่างไร?

พลาสติกชีวภาพเป็นวัสดุพลาสติกที่ผลิตจากแหล่งพืช และ ธรรมาภิบาล (ESG) ตามยุทธศาสตร์กรมฯ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้นซึ่งสามารถย่อยสลายได้ง่ายกว่าพลาสติกที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ประโยชน์ เอทานอล

1. ด้านสิ่งแวดล้อม

ㆍสามารถย่อยสลายได้ง่าย โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ㆍลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (พลาสติก 1ล้านตัน สามารถดูดซับปริมาณก๊าชเรือนกระจก ได้ 3 ล้านตัน)

2. ด้านเศรษฐกิจ

*ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG (Bio-Economy, Circular-Economy, Green-Economy)

ที่มุ่งเน้นการนำทรัพยากรชีวภาพมาผลิตและใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด

ㆍ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างรายได้ในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ประเทศ

ㆍส่งเสริมการส่งออกและลดข้อจำกัดของมาตรการทางภาษีคาร์บอนของต่างประเทศ

3. ด้านการเกษตร

*ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ㆍ สร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อมุ่งสู่เกษตรยั่งยืน

ㆍ สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้แก่เกษตรกร.

ที่มา: กรมสรรพสามิต