“ศูนย์ฯสิริกิติ์” พร้อมรับทัพนักธุรกิจจีนกว่า 3,000 คน

19 มิ.ย. 2566 | 04:58 น.
อัปเดตล่าสุด :19 มิ.ย. 2566 | 05:11 น.

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมรับทัพนักธุรกิจจีนกว่า 3,000 คน จากทั่วโลก ในงานประชุมนักธุรกิจจีนโลกครั้งที่ 16 หนุนขยายเครือข่ายการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ พร้อมยกระดับศักยภาพนักธุรกิจไทย-จีน ระหว่าง 24-26 มิ.ย. 2566

"ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์" ประกาศความพร้อมหลังได้รับความไว้วางใจจากหอการค้าไทย-จีน ให้เป็นสถานที่จัดงาน การประชุมนักธุรกิจจีนโลก(World Chinese Entrepreneurs Convention : WCEC) อีกครั้ง หลังจากเป็นสถานที่จัดการประชุมดังกล่าวเมื่อปี 2538

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” พร้อมรับทัพนักธุรกิจจีนกว่า 3,000 คน

โดยงานดังกล่าว "ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์"มีความพร้อมที่จะเปิดบ้านต้อนรับทัพนักธุรกิจจีนกว่า 3,000 คน จากทั่วโลกที่เป็นเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับสูง เพื่อร่วมการประชุมนักธุรกิจจีนโลกครั้งที่ 16 เพื่อสนับสนุนการขยายเครือข่ายการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ พร้อมยกระดับศักยภาพนักธุรกิจไทย-จีน ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2566

 

นายสุรพล อุทินทุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์   กล่าวว่า ศูนย์ฯ สิริกิติ์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้จัดงานอีกครั้ง ที่เล็งเห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของเราในการรองรับงานประชุมระดับโลก ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของเราจะสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้จัดงาน

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” พร้อมรับทัพนักธุรกิจจีนกว่า 3,000 คน

และผู้เข้าร่วมประชุมได้อย่างแน่นอน การได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดงานประชุมระดับโลกเช่นนี้ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเป็นที่สุดของอีเวนต์แพลตฟอร์มที่พร้อมรองรับการจัดงานทุกรูปแบบ ทุกสเกล และสามารถดึงอีเวนต์โปรไฟล์ใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานสากล ด้วยพื้นที่ 65,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้มากถึง 5,000 คน และคูหาแสดงสินค้าถึง 900 คูหา ครบครันด้วยเทคโนโลยี การบริการด้านต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนประสบการณ์อันยาวนานที่ได้รองรับ การจัดงานประชุมระดับนานาชาติ

การออกแบบทั้งสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน "ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์" ได้สะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้ลูกค้าและผู้เข้าร่วมงานชาวต่างประเทศได้สัมผัสถึงความงดงามของศิลปะไทย โดยได้รับการออกแบบในสไตล์ “Thai Hi-Tech” ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านทางรูปทรงทางสถาปัตยกรรม และการตกแต่งภายใน อาทิ การใช้สีเหลืองและสีขาวนวลกับหลังคาลาดเอียง หรือหน้าจั่ว 3 ชั้นที่ทำจากกระจก บริเวณทางเข้าก็ได้รับแรงบันดาลใจจากวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับบริเวณด้านหน้าศูนย์การประชุมมีโลกุตระ ประติมากรรมคล้ายกริยา “การไหว้” ของคนไทย อันเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์การประชุมที่ได้รับเกียรติออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ

ภายใน"ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์" ยังมีการประดับตกแต่งไปด้วยผลงานศิลปะไทยกว่า 1,500 ชิ้น และมีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้น อาทิ พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติ อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์ และจำหลักไม้พระราชพิธีอินทราภิเษก

ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางมายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จึงสะดวกสบาย ด้วยทางรถยนต์หรือระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง มายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้อย่างง่ายดาย