อุตฯเชียงใหม่ จับมือ STeP ดัน"สตาร์ทอัพ"รูปแบบใหม่ เป้า 5 ปี โตกว่า 50 ล้าน

14 ก.ย. 2566 | 09:44 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.ย. 2566 | 09:59 น.

อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ จับมือ STeP ดัน"สตาร์ทอัพ"รูปแบบใหม่ เน้นเร่งการเติบโต ศักยภาพของธุรกิจแบบก้าวกระโดดในระยะ 5 ปี เติบโตกว่า 50 ล้านบาท

นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงกิจกรรมการเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการจากกระบวนการ Spin-out และวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ สตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพสูง ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงใหม่ งบประมาณจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566ว่า  

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ประจำปี 2566 ถึง 2570 ประเทศไทยมีเป้าหมายในการพัฒนาให้ประเทศมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจ สามารถยกระดับขีดความสามารถและปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในเวทีโลก

 

จากแผนพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้น จังหวัดเชียงใหม่เล็งเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วย โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงใหม่ อันประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่ธุรกิจ Tech Startup 

อุตฯเชียงใหม่ จับมือ STeP  ดัน"สตาร์ทอัพ"รูปแบบใหม่ เป้า 5 ปี โตกว่า 50 ล้าน

ส่วนกิจกรรมย่อยที่ 2 การส่งเสริมการขยายธุรกิจผู้ประกอบการ Tech Startup  โดย สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานดำเนินงาน เพื่อเร่งการเติบโตของ SMEs ในรูปแบบการจัดตั้งบริษัทใหม่ ให้เป็นธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ ผลักดัน Startup ในรูปแบบใหม่ และสร้างโอกาสที่ทำให้เกิดการขยายการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ แบบก้าวกระโดด และร่วมลงทุนกับนักลงทุนขนาดใหญ่
 
และได้ดำเนินมาถึงกิจกรรมสุดท้าย คือกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจ “Pitch Demo” เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 กิจกรรมย่อยจำนวน 20 กิจการ ได้มีโอกาสนำเสนอโมเดลและแผนธุรกิจใหม่ที่ได้รับการพัฒนาจากการเข้าร่วมกิจกรรม แลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมทั้งรับคำแนะนำจากคณะกรรมการในมุมมองของนักธุรกิจ และนักลงทุน

นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การดำเนินงานในโครงการฯ เป็นไปตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่วิถีใหม่ ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากผ่านนโยบาย 4 มิติ

โดยมุ่งเน้นมิติ ความสำเร็จทางธุรกิจ ด้วยการปรับธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่ S-Curve ใหม่ มิติการรักษาสิ่งแวดล้อมสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ประชาคมโลก และมิติการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยมุ่งเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม การเร่งการเติบโตและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้รองรับการเปลี่ยนแปลงผ่านการบ่มเพาะองค์ความรู้ในรูปแบบ Startup ให้เกิดธุรกิจใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน

นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้คณะกรรมการ เฟ้นหาผู้ชนะที่มีความพร้อม ด้านการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท พร้อมรับโล่ประกาศเกียรติคุณ โดยผลการแข่งขันผู้ประกอบการที่สามารถคว้าชัยการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ในรอบชิงชนะเลิศ รางวัลชนะเลิศได้แก่

ผู้ประกอบการจากบริษัท เชียงใหม่ ที.ดี. จำกัด รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บริษัท เวลเนส มี จำกัด และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ แอนด์ เอ แคนเดิล แอนด์ โซป ซัพพลายส์

และกิจกรรมย่อยที่ 2 ผู้ประกอบการจำนวน 30 ราย ได้มีการบ่มเพาะองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ และเสริมสร้างความสามารถให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร คัดเลือกผู้ประกอบการจาก 30 ราย เหลือจำนวน 10 ราย เพื่อเข้าสู่กิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึก

ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Startup และการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่รอบชิงชนะเลิศ ของผู้ประกอบการทั้ง 2 กิจกรรมย่อย เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 150,000 บาท โดยผู้ชนะได้รับเงินรางวัล เกียรติบัตร พร้อมโล่เกียรติยศ และจะได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากอุตสาหกรรม และอุทยานฯ ต่อไป

อุตฯเชียงใหม่ จับมือ STeP  ดัน"สตาร์ทอัพ"รูปแบบใหม่ เป้า 5 ปี โตกว่า 50 ล้าน

สำหรับแข่งขันการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ในรอบชิงชนะเลิศ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่   ผู้ประกอบจาก บริษัท ฟินไดซ์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บริษัท ทรี นัมเบอร์ไนน์ จำกัดและรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 บริษัท ดราก้อน ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด พร้อมกันนี้ได้มอบใบประกาศนียบัตร แก่ผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 รายอีกด้วย 

จากการดำเนินโครงการดังกล่าวได้เร่งการเติบโตและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านแนวทางการบ่มเพาะองค์ความรู้ที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจได้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดพร้อมเพิ่มโอกาสในการลงทุนกับนักลงทุนขนาดใหญ่

โครงการ การส่งเสริมการขยายธุรกิจผู้ประกอบการ Tech Startup (Scale-up Business) คาดการณ์ยอดขายในระยะเวลา 5 ปี จะมีแนวโน้มเติบโตถึง 50 ล้านบาท จากสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่