ภารกิจเยือนจีนของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Coperration - BRF) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคมนี้ มีการเจรจากับรัฐบาลและภาคเอกชนของจีนหลายราย โดยมีคณะเดินทางร่วมด้วย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทย
“เศรษฐา”ลุยดึงทุนจีน บูมเศรษฐกิจใหม่ บีโอไอมั่นใจ ขอส่งเสริมปีนี้ 6 แสนล้าน
หนึ่งในนั้นคือ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้คะแนนและความเชื่อมั่น กับเซลส์แมนที่ชื่อ นายเศรษฐาไว้ว่า “ถ้าพูดถึงเซลส์แมนที่ชื่อนายเศรษฐา ผมว่าให้เกินร้อยในเรื่องของความตั้งใจ”
ทั้งนี้ นายสนั่น ถือเป็นตัวแทนภาคเอกชนไทยก็ได้ร่วมหารือกับภาคธุรกิจจีนหลายเรื่อง เช่น การตอกย้ำว่าไทยยินดีต้อนรับชาวจีนเข้ามาลงทุน , ท่องเที่ยว รวมทั้งทำการค้า ซึ่งนอกจากจะมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาครัฐแล้ว ยังมีการลงนามระหว่างภาคเอกชนด้วย ทั้งการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (CCPIT) และการสร้างเทรดแพลตฟอร์ม ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ไปจนถึงยังการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน
ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เจรจาเรื่องการลงทุนและได้รับสัญญาณตอบรับที่ดี โดยจีนจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ผ่านนโยบายการสนับสนุน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่
โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ เพราะประเทศไทยมีความพร้อมเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสิ่งที่จะได้จากนักลงทุนจีน คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงไทยจะเป็นฐานการผลิตและส่งออกกลายเป็นผู้นำในภูมิภาค
รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด กล่าวกับฐานเศรษฐกิจว่า การที่นายกฯเศรษฐาไปเยือนต่างประเทศ เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องดูว่า แต่ละชาติที่ไปเยือนนั้น ต้องไม่ใช่แค่ต้อนรับ แต่ต้องเจรจาให้เขาตอบรับข้อเสนอให้ได้ด้วย หลังจากกลับมา ต้องติดตามผลหลังจากการเจรจา เปลี่ยนการพูดคุยให้กลายเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้ รวมถึงต้องประเมินดูองค์ประกอบของไทยด้วย ว่าแต่ละอุตสาหกรรมมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
“การคุยเรื่องขยายตลาดก็ดี แต่ศักยภาพการแข่งขันสามารถต่อสู้ได้หรือไม่ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง มีหลายสินค้าที่อินเดียและเวียดนาม ครองตลาดอยู่ การที่เราจะแย่งมานั้น ไม่ง่าย ขณะเดียวกันไทยก็ต้องปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้รองรับการลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาด้วย”
การที่จีนสนใจลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตใน 5 อุสาหกรรมใหญ่นั้น ถือเป็นข่าวดีสำหรับภาคธุรกิจของไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีน ทำให้เราจะสามารถพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจคืออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์อีวี เพราะปัจจุบัน ค่ายรถอีวีจากจีนครองตลาดส่วนใหญ่ในไทยอยู่แล้ว การลงทุนตั้งฐานการผลิตน่าจะเกิดขึ้นได้แน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจรจาการค้าเรียบร้อย ต้องกลับมาปรับกลยุทธ์หลังบ้านเพื่อรองรับการลงทุนด้วย โดยรัฐจะต้องกำหนดนโยบายการลงทุนให้ชัดเจน ว่าจะสนับสนุนเรื่องใด อุตสาหกรรมใด อย่างไรบ้าง อาจจะออกมาตรการพิเศษ เช่น การลดภาษี , การออกเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ และ การสนับสนุนเงินกองทุนพิเศษจากสถาบันการเงินในอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
นอกจากนี้เพื่อให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ หมุนเวียนในไทยให้มากที่สุด แนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ รัฐฯและเอกชนไทย ควรตกลงกับจีน หรือทำสัญญาร่วมกันว่า ฐานการผลิตของจีนในแต่ละอุตสาหกรรม จะต้องกำหนดอัตราส่วนการใช้ วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content : LC) ให้อยู่ในไทย 50% ขึ้นไป เพื่อให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้รับอานิสงส์มากขึ้นด้วย
“เราต้องปรับองคาพยพเพื่อรองรับเรื่องนี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทยเราตามหลังเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของงานวิจัย ซึ่งเราต้องเพิ่มงบประมาณเรื่องนี้ให้มาก ส่วนการใช้ Local Content นั้น นอกจากจะช่วยให้อุตสาหกรรมในประเทศได้รับผลดีแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้นด้วย”