นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการหารือกับองค์กรด้านการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานฮาลาลของประเทศญี่ปุ่น (JAHADEP) เพื่อการขยายความร่วมมือกับอุตสาหกรรมฮาลาลของญี่ปุ่นให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยและใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิบของไทย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นฐานการผลิตและส่งออกอาหารญี่ปุ่นฮาลาลไปสู่ตลาดที่มีศักยภาพตามแนวคิดครัวไทยสู่ครัวโลก โดยคาดว่าจะมีเอกชนสนใจมาลงทุนในประเทศไม่ต่ำกว่า 800 ราย และจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท
อีกทั้งยังได้ดำเนินการหารือ และแลกเปลี่ยนกรอบการทำงาน (Cooperation Framework) กับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) โดยมุ่งเน้นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งทั้งสองประเทศ เพื่อรองรับและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วโลก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมการแพทย์และการดูแลสุขภาพ
ทั้งนี้ ล่าสุดเพื่อเป็นการร่วมกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและก้าวทันยุคสมัย ได้มีการหารือแนวทางการต่อยอดความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนกรอบการทำงาน ฉบับใหม่ระหว่างกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับ 2 องค์กรพันธมิตรสำคัญ ได้แก่ องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) มุ่งเน้นการเชื่อมโยงและขยายเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย - ญี่ปุ่น
รวมทั้งยกระดับการบ่มเพาะ พัฒนาสร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเชิงลึก การแพทย์ สิ่งแวดล้อม และอวกาศ
อีกทั้งยังได้เข้าหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (NEDO) โดยร่วมกันวางกรอบแนวทางความร่วมมือไว้ 4 กิจกรรม ประกอบด้วย
นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวครั้งนี้ เน้นให้อุตสาหกรรมปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น Robotic, IoT, Automation เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการจัดการ
รวมทั้งการยกระดับกระบวนการผลิตทั้งระบบสู่แนวทางอุตสาหกรรมสีเขียว ทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำกลับมาใช้ใหม่ และการพัฒนาพลังงานทางเลือกสำหรับยานยนต์สมัยใหม่ การรีไซเคิล - อัพไซเคิล วัสดุต่าง ๆ อย่างครบวงจร โดยเฉพาะซากยานยนต์ที่มีเพิ่มขึ้นโดยตลอด ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและเปรียบได้กับบัตรผ่านทางสู่เวทีโลกในอนาคต