KEY
POINTS
แม้ “รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน” จะบริหารรัฐนาวา ไปแล้ว 4 เดือน แต่ เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยยังเดินเครื่องไม่เต็มสูบ ยังตกอยู่ในช่วง “สุญญากาศ” งบประมาณรายจ่ายประจำปี "ไม่ต่อเนื่อง"
หัวใจเศรษฐกิจไทยยังเต้นไม่ลงจังหวะ เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.485 ล้านล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในขั้นตอนคณะกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณรายจ่ายประจำปี 67
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ปี 61 มาตรา 12 ให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน ภายใต้วงเงิน 1,874,331 ล้านบาท คิดเป็น 58.85 % ของวงเงินงบประมาณปี 66 จำนวน 3.148 ล้านล้านบาท
"สำนักงบประมาณ" รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน ในช่วง “ไตรมาสแรก” ของปีงบประมาณ หรือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2566
ในส่วนของ “รายจ่ายลงทุน” ออกมา “ต่ำกว่าแผน” การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน (ตุลาคม 2566 - พฤษภาคม 2567) ที่ตั้งเป้าหมายไว้
รายจ่ายลงทุน วงเงินทั้งสิ้น 183,051 ล้านบาท จัดสรรไปแล้ว 144,309 ล้านบาท คิดเป็น 78.84 % ของวงเงินลงทุน มีผลการใช้จ่ายก่อหนี้ไปแล้ว 74,226 ล้านบาท คิดเป็น 51.44 ของวงเงินที่ได้รับการจัดสรร
แต่มีผลเบิกจ่ายแล้ว 51,060 ล้านบาท คิดเป็น 35.38 % ซึ่ง ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน “ไตรมาสแรก” ที่ 71,390 ล้านบาท หรือคิดเป็น 39 % ของวงเงินก่อหนี้ทั้งหมด
สำหรับการเบิกจ่าย “เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี” ยังพบว่า มีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่ยังไม่เบิกจ่าย จำนวน 106,540 ล้านบาท คิดเป็น 66.53 % หน่วยรับงบประมาณควรเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ทั้งรายการปีเดียวและรายการผูกพัน
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 160,130 ล้านบาท จำแนกเป็นรายการปีเดียว จำนวน 110,978 ล้านบาท รายการผูกพัน จำนวน 49,152 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2566 มีผลการเบิกจ่ายเงินกันฯ จำนวน 53,590 ล้านบาท คิดเป็น 33.47 %
โดยเงินกันฯ ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายลงทุน จำนวน 133,425 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่าย จำนวน 40,263 ล้านบาท คิดเป็น 30.18 % จำแนกเป็นรายการปีเดียว จำนวน 84,273 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่าย จำนวน 29,473 ล้านบาท คิดเป็น 34.97 และรายการผูกพัน จำนวน 49,152 ล้านบาท ผลการเบิกจ่าย จำนวน 10,789 ล้านบาท คิดเป็น 21.95 %
ผลจากการ “เบิกจ่าย” รายจ่ายลงทุนไตรมาสแรก “ต่ำกว่าเป้า” และ “เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี” ยัง “ค้างท่อ” นับ “แสนล้านบาท” สำนักงบประมาณจึงออก “มาตรการเร่งรัด” การใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ พ.ศ.2566
สำหรับเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่อยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างแล้วให้เร่งรัดการก่อหนี้เบิกจ่ายโดยเร็ว
เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน
ภาพรวม
รายจ่ายประจำ
รายจ่ายลงทุน
ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนการฯที่กำหนดไว้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายข้างต้น ให้ถือว่าบรรลุตามเป้าหมายในไตรมาสนั้นแล้ว
“เพื่อให้หน่วยงานรับงบประมาณสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นการกระตุ้นให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ตลอดจนสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายได้ภายหลังที่พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีผลใช้บังคับ"