นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายออกใบอนุญาต คาสิโน หรือ สถานบันเทิงที่มีกิจกรรมการพนันนั้นความคิดเห็นส่วนตัวเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องการ ตัวขับเคลื่อนใหม่เพื่อกระตุ้น รายได้ของคนในประเทศ สถานบันเทิงพร้อมกิจกรรมการพนันจะเป็นตัวกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ เศรษฐกิจภายในประเทศได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ การออกแบบโครงสร้าง และ ห่วงโซ่ต่อเนื่อง ซึ่งเราสามารถเรียนรู้บทเรียนจาก มาเก๊า , ลาสเวกัส และ แอดิเลด เป็นต้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับบริบทประเทศไทย ในการสร้างงานจากฐานราก ธุรกิจบริการต่อเนื่อง เช่น ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การช้อปปิ้งใช้จ่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นต้น และการลงทุนจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ การออกแบบ คาสิโนมี ประกอบด้วยสามมิติใหญ่ คือ มิติเศรษฐศาสตร์ มิติสังคม และ มิติ การลงทุน โดยการได้พูดคุยกับ มร.นิโคลัส คู ผู้ที่เป็นคณะกรรมการเกมส์บันเทิง แห่งชาติ สิงค์โปร์ มากกว่า 20 ปี และ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากรัฐบาลสิงค์โปร์ ในด้านการออกแบบคาสิโน ได้ให้แนวคิดว่า การออกแบบทั้งสามมิติต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ผลบวกจาก มิติ เศรษศาสตร์ และ การลงทุน ต้องมีมาตรการรองรับ กับ ความเสี่ยงทางสังคม โดยสิงค์โปร์ ได้เรียนรู้ปัญหา จากการพัฒนาคาสิโน มารีน่า เบย์ แซนด์ส มาแล้ว และ พบว่า มิติสังคมนั้น มีผลกระทบที่ซ่อนอยู่เยอะ และ อยากให้ไทยได้ข้อศึกษาจาก สิงค์โปร์ เพื่อมาออกแบบ การพัฒนาครั้งนี้ เช่นการ ออกแบบ พื้นที่ๆให้อยู่ นอกเมือง การควบคุม ผู้มีรายได้น้อยเข้าเสี่ยงเล่นการพนัน และ การจำกัดการเล่นของผู้เล่นในประเทศ เป็นต้น
นายพชร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนตัวแล้ว สิ่งสำคัญของการพัฒนา คาสิโน คือ การพัฒนาคน ที่ควบคู่กันไปด้วยการสร้างานต้องเป็นคนไทยที่ได้รับประโยชน์โดยตรง และ คนไทยต้องพร้อมทำงาน บริการ และ ต้องพัฒนา ตัวขับเคลื่อน ทาง อุตสาหกรรม ควบคู่ไปด้วย เช่น อุตสาหกรรม ดิจิทัล และ อุตสาหกรรมไฮเทค และ พลังงานทดแทน เพื่อให้คนส่วนใหญ่ อยู่ดีกินดี และ ลด ความเสี่ยงของปัญญาสังคม ที่อาจเกิดจากช่องว่าง และ ความต้องการการเสี่ยงโชค ที่อาจจะตามมาด้วย ปัญหา อาชญากรรม อื่นๆตามมา โดยเฉพาะปัญหา มาเฟีย และ ผู้มีอิทธิพล อีกทั้งต้อง สร้างสถาบันตำรวจ และ ยุติธรรม ให้กลับมาแข็งแกร่ง เพื่อ มารองรับ ปัญหาสังคมที่ อาจจะเกิดขึ้น.