รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมทางหลวง ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วง รังสิต - บางปะอิน พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้รถที่ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วง รังสิต – บางปะอิน หรือ “โทลล์เวย์รังสิต-บางปะอิน” ต้องเสียค่าทางด่วน
สำหรับเหตุผลของการดำเนินโครงการนั้น กรมทางหลวง แจ้งว่า เป็นการสมควรเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษ หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วง รังสิต – บางปะอิน หรือ “โทลล์เวย์รังสิต-บางปะอิน” ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ.2493 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534
กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ขาเข้ากรุงเทพมหานคร
1.รถยนต์ไม่เกิน 4 ล้อ
2.รถยนต์ตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไป
ขาออกกรุงเทพมหานคร
1.รถยนต์ไม่เกิน 4 ล้อ
2.รถยนต์ 4 ล้อขึ้นไป
ในางกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วง รังสิต - บางปะอิน พ.ศ. .... ระบุว่าให้เก็บค่าธรรมเนียมการ นับแต่วันที่อธิบดีกรมทางหลวงประกาศกำหนดเป็นต้นไป
ปัจจุบันโครงการก่อสร้าง โทลล์เวย์ รังสิต-บางปะอิน ระยะทาง22 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 31,358.39 ล้านบาท ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ดPPP) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบรูปแบบการร่วมลงทุนโครงการฯ ภายในปี 2566
หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2567-2568 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2568 โดยใช้ะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2572
สำหรับรูปแบบโครงการเป็นทางยกระดับตามแนวถนนพหลโยธิน 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) มีจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 7 แห่งดังนี้
โครงการนี้จะมีระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือ M-Flow