นายชลธิศ นวลพลับ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ ร้านทองฮั่วเซ่งเฮง กล่าวกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า ราคาทองคำในช่วงนี้ราคาพุ่งสูงขึ้นจากหลายปัจจัยเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกโดยสรุปแล้ว มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่
หากยึดตามหลักของกฎเทย์เลอร์ (Taylor’s Rule) ซึ่งเป็นกฎการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงิน จะพบว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯที่เหมาะสม ณ ปัจจุบันควรจะปรับลดลดลงอยู่ที่ราว 4.7% แต่ปัจจุบันอยู่ที่ราว 5.25-5.5% นั่นหมายความว่ามีโอกาสสูงมากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 2-3 ครั้ง (ภาพที่ 1)
นอกจากนี้ หากสังเกตจากในอดีตที่ผ่านมา ทุกครั้งที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ราคาทองคำก็จะพุ่งสูงขึ้น ดังในกราฟ คือ ช่วง ปี 2001 , ปี 2008-2009 และ ปี 2019-2020 ดังนั้นหาก เฟด ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีหลังก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นอีก
จากผลสำรวจของ Gallup พบว่า คนอเมริกันหันมาให้ความสนใจกับการลงทุนในทองคำมากขึ้นแบบก้าวกระโดด (ภาพที่ 2) โดยตั้งแต่ปี 2011 ชาวอเมริกันมีความสนใจในการลงทุนทองคำลดลงเรื่อย ๆ สวนทางกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีความหวือหวามากกว่า แต่ในช่วงปี 2022 ถึง 2023 ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะด้วยความอิ่มตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนทำให้นักลงทุนให้ความสนใจกับสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงมากขึ้น
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส ยังคงลุกลาม ส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาทองคำโดย เพราะนักลงทุนจะลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงมากขึ้น ประกอบกับสถาบันก็หันมากระจายพอร์ตการลงทุนในทองคำ ไปจนถึงธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก เข้าซื้อทองคำมากขึ้นเช่นกัน
นโยบายของผู้นำสหรัฐคนใหม่ ส่งผลโดยตรงต่อ 2 ส่วน ได้แก่ นโยบายด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายทางเศรษฐกิจ และการกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยสหรัฐฯจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปี ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ผสมโรงให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นได้อีก
นายชลธิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า ราคาคาทองคำ Gold Spot ปัจจบันอยู่ที่ราว 2,340-2,350 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนตัวมีความเชื่อว่าน่าจะพุ่งขึ้นไปได้สูงถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่อาจจะมีช่วงที่ผันผวนบ้าง ขอให้นักลงทุนลงทุนด้วยคงามระมัดระวังและอย่าตกใจกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น