กลุ่มวัยทำงาน
เงินชดเชยกรณีว่างงาน
- จากเหตุสุดวิสัย ได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
- จากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน
- จากการลาออก/สิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินชดเชย 45% ไม่เกิน 90 วัน
กลุ่มผู้สูงอายุ
- สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 95,990 ล้านบาท ครอบคลุม 12.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 4,503 ล้านบาท คิดเป็น 4.92%
- สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 462 ล้านบาท ครอบคลุม 153,927 ราย เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 143 ล้านบาท คิดเป็น 44.83%
- ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย 520 ล้านบาท ครอบคลุม 13,000 แห่ง เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 295 ล้านบาท คิดเป็น 131.11%
กลุ่มผู้ด้อยโอกาส
- ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยภายใต้โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 50,087 ล้านบาท ครอบคลุม 14.98 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 72 ล้านบาท คิดเป็น 0.14%
- เงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง 236 ล้านบาท ครอบคลุม 78,500 คน ลดลงจาก ปี 2567 จำนวน 4 ล้านบาท คิดเป็น 1.67%
- พัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย (บ้านพอเพียงชนบท) 594 ล้านบาท ครอบคลุม 14,850 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 20 ล้านบาท คิดเป็น 3.48%
- ปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ปัญหาชุมชนแออัด (บ้านมั่นคง) 350 ล้านบาท ครอบคลุม 3,900 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 13 ล้านบาท คิดเป็น 3.86%
- สนับสนุนเบี้ยยังชีพความพิการ 23,933 ล้านบาท ครอบคลุม 2.17 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 653 ล้านบาท คิดเป็น 2.80%
กลุ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
- ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า 235,843 ล้านบาท ครอบคลุม 47.16 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 18,214 ล้านบาท คิดเป็น 8.37%
- ระบบประกันสังคม 61,078 ล้านบาท ครอบคลุม 24.65 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 5,389 ล้านบาท คิดเป็น 9.68%
- ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พนักงานของรัฐ และลูกจ้าง 93,800 ล้านบาท ครอบคลุม 4.70 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 16,800 ล้านบาท คิดเป็น 21.82%
- ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง 10,146 ล้านบาท ครอบคลุม 8.1 แสนคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 1,394 ล้านบาท คิดเป็น 15.93%
- สนับสนุนค่าป่วยการและพัฒนาศักยภาพ อสม. หมอประจำบ้าน ให้ดูแลสุขภาพตนเองและชุมชนได้อย่างยั่งยืน 26,127 ล้านบาท ครอบคลุม 1.09 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 จำนวน 160 ล้านบาท คิดเป็น 0.62%
นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ว่า จากการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณที่ดูแลสวัสดิการประชาชน ในปีงบประมาณ 2568 มีการจัดสรรวงเงินงบประมาณด้านสวัสดิการที่จะต้องดูแลคนทุกกลุ่มสูงถึง 7.49 แสนล้านบาท ซึ่งถ้ารวมเงินเดือนครู และบุคลากรทางการแพทย์ เข้าไปด้วย จะทำให้มีวงเงินงบประมาณที่ต้องใช้พุ่งสูงถึง 9.7 แสนล้านบาทด้วย